ตัณหา เป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก มีความเป็นสภาวะขึ้นมา ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เพราะฉะนั้นต้องประกอบด้วยการเกิดอีกให้เป็นสภาวะขึ้นมา เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา มีความกำหนัด มีความเพลิน โดยนัยยะนี้ได้แบ่งตัณหาเป็น 3 อย่างดังนี้

1.กามตัณหา คือความกำหนัดยินดีพอใจและความเพลินในรูปผ่านทางตา เสียงผ่านทางหู กลิ่นผ่านทางจมูก รสผ่านทางลิ้น และโผฏฐัพพะผ่านทางกาย และความอยากได้กามคุณคือสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า

2.ภวตัณหา คือ ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ความอยากมี อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป

3.วิภวตัณหา คือ ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา ความไม่อยากเป็น อยากดับสูญ

ส่วนตัณหา 108 นั้นมาจากคำว่าตัณหาวิจริตคือความนึกที่แผ่ซ่านด้วยอำนาจของตัณหาคือความเพลินซ่านไปแผ่ไป โดยแผ่ซ่านกระจายไปในขันธ์อันเป็นภายใน 18 อย่าง ขันธ์อันเป็นภายนอกอีก18อย่าง ทั้ง 2 นี้ รวม 36 อย่าง X 3 กาลคือ ปัจจุบัน อดีต และอนาคต จึงเป็นตัณหา 108 นั่นเอง


Timeline

[00:30] ปฏิบัติภาวนา เจริญพุทธานุสสติ
[07:05] กามตัณหา ภวตัณหา วิภาวตัณหา
[07:16] ความหมายของ ตัณหา
[09:28] ฉันทะ
[15:08] เปรียบเทียบ กาม กับ กามคุณ
[22:30] ความอยาก จะประกอบด้วยลักษณะ 3 อย่าง
[30:08] วิภวตัณหา ความไม่อยากเป็น
[42:07] ตัณหาวิจริต
[42:34] ตัณหา 108