กรรม (กัมมะ) คือ เจตนาของจิตที่เมื่อมีผัสสะมากระทบแล้วเกิดการปรุงแต่งออกไป ทางกาย (กายกรรม) วาจา (วจีกรรม) และใจ (มโนกรรม) เป็นอกุศลกรรมบ้าง หรือกุศลกรรมบ้าง หรือเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม (อริยมรรคมีองค์ 8)

กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ – ทำความเข้าใจกรรมผ่าน “นิพเพธิกสูตร”

· เรากล่าวซึ่ง “เจตนา ว่าเป็นกรรม” เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ หมายถึง เจตนาที่อยู่ในจิตที่ประกอบไปด้วย ราคะ โทสะ และโมหะ (กิเลส) จากมากไปจนถึงเบาบาง (อกุศล-กุศล) หรือจนไม่เหลือ จึงพ้นจากกรรม คือ “สิ้นกิเลส สิ้นกรรม” ด้วย อริยมรรคมีองค์ 8

· เหตุเกิดแห่งกรรม คือ ผัสสะ (อาศัยผัสสะเป็นแดนเกิด)

· ความมีประมาณต่าง ๆ แห่งกรรม คือ กรรมที่ทำให้ไปเกิดในอบาย, มนุษยโลก, เทวโลก ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 และกุศลกรรมบถ 10

· วิบาก คือ ผลแห่งกรรม มีระยะเวลาการให้ผล คือในปัจจุบันทันควัน / ในเวลาต่อมา / ในเวลาต่อ ๆ มา

· ความดับไม่เหลือแห่งกรรม คือ ความดับแห่งผัสสะ (เมื่อมีผัสสะกระทบแล้วไม่เข้าถึงจิต)

· ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม คือ อริยมรรคมีองค์ 8

การเข้าถึงกระบวนการสิ้นกรรม คือ ให้เราปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 จนครบจนเต็มรอบ ผลแห่งความสมบูรณ์ในการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 จะทำให้เราพ้นจากกรรมได้

ฟัง “เรื่องของ “กรรม” (ตอนที่ 1)”

อ่าน “นิพเพธิกสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


Timeline

[00:39] ปฏิบัติภาวนา อานาปานสติ
[07:27] เรื่องของ “กรรม” ตอนที่ 2
[09:12] นิพเพธิกสูตร ธรรมปริยายชำแรกกิเลส
[10:18] กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ
[11:35] กล่าวซึ่ง “เจตนา ว่าเป็น กรรม” (เจตนา คือ กรรม / กรรม คือ เจตนา)
[40:04] เหตุเกิดแห่งกรรม
[45:36] ความมีประมาณแห่งกรรม
[48:40] วิบาก คือ ผลแห่งกรรม
[51:16] ความดับไม่เหลือแห่งกรรม
[51:33] ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม