ปฏิปทาอันยิ่งยวดอย่างหนึ่งใน “ทศบารมี” นั้นก็คือ “ขันติ” คือ ความอดทนอดกลั้น เป็นตบะแผดเผากิเลสอย่างยิ่ง เพราะไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม จะสามารถรักษาความเป็นปกติเอาไว้ได้ ผู้ที่ผ่านการฝึกฝนปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมทำคุณธรรม “ขันติ” ให้ปรากฏขึ้นเป็นของแจ่มแจ้งแก่ตนเองได้ด้วย “ปัญญา” และถ้าพิจารณากันให้ดี ๆ จะเห็นว่า คุณธรรมที่ทำให้มีความอดทนนั้น มีอยู่มากมาย จึงอาจกล่าวได้ว่า “ขันติ” ความอดทนคือทุกสิ่ง

ความอดทนแบ่งตามเหตุที่มากระทบ ได้แก่อดทนต่อความลำบากตรากตรำ อดทนต่อทุกขเวทนาทางกาย และทางใจ อดทนต่อกิเลส

เปรียบความอดทนไว้กับทางไปสู่นิพพาน ถ้าคุณเจอสิ่งกระทบในระหว่างทาง คุณยังจะอดทนรักษามรรคไว้ได้อยู่ไหม? หรือจะเลือกเดินออกนอกมรรคไปไม่ถึงนิพพาน

ขันติแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. อธิวาสนขันติ คือ ยังมีอารมณ์โกรธอยู่ แต่อดกลั้นไว้ได้ ไม่แสดงสิ่งที่เป็นอกุศลทางกาย วาจา ใจ ออกไป
  2. ตีติกขาขันติ คือ ปฏิบัติได้เป็นปกติใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพราะผ่านการฝึกฝน ทำซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ อยู่บ่อย ๆ ในขั้น “อธิวาสนขันติ”

คุณธรรมความอดทน ตัวอย่างในเรื่องของท่านพระปุณณะ พระสารีบุตร และท้าวสักกะ เป็นคุณธรรมที่แสดงให้เห็นการบ่ม อินทรย์ พละ ศีล สมาธิ ปัญญา พรมหมวิหาร

อานิสงส์ของความอดทน คือ ย่อมเป็นที่รักของคนเป็นอันมาก เป็นผู้ไม่มากด้วยเวรไม่มากด้วยโทษ เป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์


Timeline

[00:15] ปฏิบัติภาวนา เจริญเมตตาภาวนา
[05:06] ขันติ ความอดทน คือทุกสิ่ง
[07:46] อธิบายคำว่า “อดทน” ตามพุทธพจน์
[11:07] ลักษณะของความอดทน
[14:20] อาธิวาสนขันติ
[14:33] ตีติกขาขันติ
[27:42] สิกขา 3 อย่าง ศีล สมาธิ ปัญญา
[35:00] ความอดทน มีอยู่ใน อินทรีย์ / พละ
[36:43] เรื่องของท่าน ” พระปุณณสุนาปรันตเถระ “
[41:33] เรื่องของ ” ท้าวสักกะเทวราช และ ท้าวเวปจิตติ “
[48:07] เรื่องของท่าน ” พระสารีบุตร “
[54:37] อานิสงส์ ของการมี ” ขันติ “