การนำเอาหัวข้อหลักธรรมะต่างๆ มาอุปมาเชิงเปรียบเทียบกับการสร้าง “นคร” ซึ่งองค์ประกอบของ ธัมมะนคร หรือ นครแห่งธรรม ได้กล่าวบรรยายไว้ 2 นัยยะ คือ นัยยะของท่านพระอุบาลี และ นัยยะของพระพุทธเจ้า

ธัมมะนครตามนัยยะคาถาของ “ท่านพระอุบาลี” เป็นคาถาเปล่งอุทานหลังจากที่ท่านพระอุบาลีได้บรรลุอรหันต์ โดยใจความของพระคาถาได้กล่าวถึงการได้เข้ามาอยู่ใต้ร่มโพธิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบได้กับความเจริญใจเมื่อได้เข้ามาสู่นครแห่งธรรม โดยเปรียบธัมมะนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ดังนี้ว่า :-

  1. พระองค์ มี “ศีล” เป็น กำแพง
  2. พระญาณ (ปัญญา) = ซุ้มประตู
  3. ศรัทธา = เสาระเนียด
  4. สังวร (สำรวมระวัง) = นายประตู
  5. สติปัฏฐาน = ป้อม
  6. ปัญญา = ทางสี่แพร่ง
  7. อิทธิบาท = ทางสามแพร่ง
  8. ธรรมวิถี = ถนนหนทาง
  9. พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม และ นวังคสัตถุศาสน์ = ธรรมสภา (ที่ประชุม)
  10. วิหารธรรม (ฌาน) = ธรรมกุฏิ

ธัมมะนครตามนัยยะ “นคโรปมสูตร” ของพระพุทธเจ้า เปรียบไว้กับหัวเมืองชายแดนที่สำคัญ ที่จะคอยป้องกันนคร โดยได้อุปมาเปรียบไว้ดังนี้ :-

  1. เสาระเนียด = ศรัทธา (หยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย)
  2. คู (ร่องน้ำ) = หิริ (ความละอายต่อบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย)
  3. เชิงเทินเดินรอบ = โอตตัปปะ (ความสดุ้งกลัวต่อบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย)
  4. อาวุธ = พหูสูต (แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ)
  5. กองกําลัง = ความเพียร (ละอกุศล / เจริญกุศล)
  6. ทหารยาม นายประตู = สติ (สติปัฏฐาน)
  7. กําแพง = ปัญญา (เป็นที่สูงสุด)

Timeline

[00:18] ปฏิบัติภาวนา อานาปานสติ
[05:31] ธัมมะนคร – นครแห่งธรรม
[07:35] ธัมมะนคร ตามนัยยะคาถาของท่านพระอุบาลี
[27:06] “นวังคสัตถุศาสน์” คำสอนของพระพุทธเจ้า 9 ประการ
[40:24] ธัมมะนคร ตามนัยยะ “นคโรปมสูตร” ของพระพุทธเจ้า