วาโยธาตุ หรือที่เราเรียกว่า “ธาตุลม” เป็น 1 ใน มหาภูตรูป 4

ธาตุลมประกอบไปด้วย :-

ลมภายนอก คือ ธรรมชาติที่พัดไปมาอยู่นอกกาย เช่น ลมร้อน ลมหนาว ลมมีฝุ่น หรือ ลมไม่มีฝุ่น ลมตะวันออก..ฯลฯ

ลมภายใน คือ ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกาย เช่น ลมในกระเพาะ ลมในลำไส้ ลมหายใจเข้า-ออก

ลมภายในแบ่งได้เป็น :-

ลมปราณ คือ ลมหายใจเข้า-ออก

1. ลมหายใจต่อกาย-ทิ้งกาย หมายถึง ลมทำหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงร่างกาย และทำลายร่างกายไปในกระบวนการเดียวกัน (มีการเผาผลาญในกาย)

2. ลมหายใจต่อจิต (การมีสติสัมปชัญญะรู้ลมหายใจ) / ทิ้งจิต (ปล่อยสติเผลอเพลิน)

ลมปาก คือ ลมที่ผ่านหลอดเสียง ที่ออกจากกายไปสู่ภายนอก เป็นลักษณะของสัญญาเปลี่ยนแปลงไปตามการปรุงแต่ง (สังขาร) และสื่อออกมาทางลมปาก ได้แก่

1. ลมเหม็น (คูถภาณี) คือ ผู้มีวาจาภาษาพูดเหมือนคูถหรืออุจจาระ เกิดจากจิตที่เป็นอกุศลที่ปรุ่งแต่งออกมาทางวาจา เป็น “วจีทุจริต” ได้แก่ 

1.1  การพูดเท็จ พูดปด พูดไม่จริง พูดบิดเบือน ไม่เกิดประโยชน์

1.2  พูดส่อเสียด ยุยงให้แตกกัน บาดหมาง พูดใส่ร้าย-ป้ายสี

1.3  พูดคำหยาบ ได้แก่ “คำหยาบคาย” คือ พูดทิ่มแทงให้เจ็บใจ แดกดัน เสียดสี เหน็บแนม /คำหยาบโลน” คือ พูดภาษาใต้สะดือ ใช้สรรพนามของสัตว์แทนคน

1.4  พูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ “พูดพล่าม” คือ คำพูดที่โปรยประโยชน์ทิ้ง ไร้สาระ หาประโยชน์ไม่ได้ (พูดเยอะแต่ไม่เกิดประโยชน์) / “พูดเหลวไหล” คือ คำพูดเลอะเทอะ ไม่มีหลักฐานอ้างอิง หาประโยชน์ไม่ได้ เช่น คำพูดมุกตลก

2. ลมหอม (ปุปผภาณี) คือ ผู้มีวาจาพูดภาษาดอกไม้ ได้แก่ พูดคำจริง ไม่พูดเท็จ

3. ลมหวาน (มธุภาณี) คือ ผู้มีวาจาพูดภาษาน้ำผึ้ง ได้แก่ พูดความจริงไพเราะจับใจ ประกอบไปด้วยพรหมวิหาร เป็นผู้ละเว้นคำหยาบ

3.1  พูดจริง ดี มีประโยชน์ รู้กาลที่เหมาะสมแล้วจึงพูด / เว้นคำพูดจริงแต่ไม่มีประโยชน์ ไม่ประกอบด้วยกาล

3.2  พูดสมานไมตรี ให้เกิดความสามัคคีกันมากยิ่งขึ้น

3.3  พูดไพเราะ เป็นคำพูดที่ “อ่อนหวาน” สุภาพ มีถ้อยคำที่สละสลวย ฟังแล้วลื่นหู / “คำพูดดื่มด่ำดูดดื่ม” มีคติธรรม ฟังแล้วจับใจ

3.4  พูดมีประโยชน์ มีหลักฐานอ้างอิง เป็นคำจริง ประกอบด้วยกาลเทศะ

*ลักษณะคำพูดที่หอมหวานนั้นคือ เป็นมงคล เป็นวาจาสุภาษิต ฟังแล้วเกิดความรู้สึกซาบซึ้งเบิกบาน เป็นวาจาที่หาโทษมิได้


Timeline

[00:25] ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ
[05:49] ว่าด้วยเรื่องของ ” ลม “
[09:06] ลมปราณ – ลมหายใจ
[09:50] ลมปาก – วาจา
[11:16] คูถภานี (ปากเหม็น)
[32:30] บุปผภาณี (ปากหอม)-มธุรภาณี (ปากหวาน)
[34:20] วาจาสุจริตมี 4 ประการ
[34:43] คำพูดจริง / ไม่พูดเท็จ (1)
[40:27] คำพูดสมานไมตรี (2)
[44:04] คำพูดไพเราะ (3)
[49:38] คำพูดที่มีประโยชน์ (4)
[55:58] ลมหายใจต่อกาย-ทิ้งกาย / ลมหายใจต่อจิต-ทิ้งจิต