ศรัทธาที่มีอาการประกอบไปด้วยเหตุผล จะทำให้เกิดการทำจริงแน่วแน่จริงในกุศลธรรมทั้งหลาย คิดใคร่ครวญเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา เป็นศรัทธาที่ประด้วยอาการของปัญญา “อาการวตีสัทธา”

ลักษณะของศรัทธาที่ประกอบไปด้วยอาการ “อาการวตีสัทธา”

1. มี 2 มิติ คือ

    (1.1) ระดับสมมุติของโลก – ความจริง/ข้อเท็จจริง (fact / fake) สมมุติว่าจริง สมมุติว่าเท็จ

    (1.2) ระดับเหนือสมมุติของโลก – สัจจะความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ 4)

*ทั้ง 2 มิตินี้ ต้องปรับให้ตรงกัน อย่าให้มีกิเลส อย่าให้เป็นมิจฉา ให้มีสัมมาทิฐิ / สัมมาสังกัปปะ / สัมมาวาจา

2. ศรัทธานั้นต้องให้เกิดการลงมือปฏิบัติ ทำจริงแน่วแน่จริง

3. ศรัทธาที่มีอาการต้องประกอบไปด้วยปัญญาจากการคิดใคร่ครวญโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ในกาลมสูตร 10 และตามหลักของ “อปัณณกธรรม” ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิดจากความเป็นอริยะ คือ ให้ ละ วิบัติ 3 ประการ และให้ถึงพร้อมด้วยสัมปทา 3 ประการ


Timeline

[00:13] ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ
[05:06] ความหมายของ อาการวตีศรัทธา
[06:18] เกสปุตตสูตร ว่าด้วย ข้อห้ามมิให้เชื่อโดยอาการ 10 อย่าง
[16:48] ความจริง (fact & fake) ในสมมุติโลก
[17:19] สัจจะ (อริยสัจ 4) เหนือสมมุติ
[26:55] ศรัทธาที่มีอาการของปัญญา
[33:03] อปัณณกธรรม ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด
[36:21] วิธีคิดที่จะให้เกิด” ปัญญา”
[42:02] วิบัติ 3 และ สัมปทา 3