00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- มีตนมีธรรมเป็นที่พึ่งสามารถที่จะผ่านปัญหาต่าง ๆ ด้วยปัญญาเฉพาะตน คนเราสามารถพัฒนาได้ ด้วยวิธีคิดที่ไม่ผิด ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นแบบไหนก็ตาม ซึ่งเป็นวิธีคิดที่พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้ใน อปัณณกะ ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด “อะไรที่จะมีประโยชน์ให้เอาไว้ก่อน และหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยง” 2 ส่วนยังไงก็ผิด เป็นความวิบัติ 3 อย่าง สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล) จิตตวิบัติ (ความวิบัติแห่งจิต) ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ) ความถึงพร้อม 3 อย่าง ที่ไม่มีทางผิด คือ สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) จิตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจิต) ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) นั่นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ส่งผลให้เจริญแน่นอน ข้อปฎิบัติ 3 อย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงตกผลึกมาแล้ว ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไรเมื่อปฎิบัติแล้วไม่มีทางเสีย มีแต่จะดีขึ้น คือ การคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย การรู้ประมาณในการบริโภค การประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ ๆ ในที่นี้ยกตัวอย่าง 3 เรื่องด้วยกัน ดังนี้เรื่องที่ 1 การถ่วงน้ำหนักลูกเต๋า ซึ่งเป็นกลโกงในการเล่นการพนัน ที่นำเทคนิคนี้มาปรับใช้ในการทำความดี สร้างประโยชน์ ทำความดีได้ตลอดเวลา เรื่องที่ 2 พระโพธิสัตว์ ครั้นเมื่อเกิดเป็นพ่อค้าบริหารความเสี่ยงด้วยระเบียบวินัย ในเรื่องของการใช้น้ำสำหรับการเดินทางในทางกันดาร โดยใช้ปัญญาคิดมาตรการ และระบบที่จะป้องกันความเสี่ยง และมีความเพียรในการทำตามระบบนั้น ทำให้ไม่ถูกยักษ์ที่แปลงกายมาหลอกให้ทิ้งน้ำกลางทางจนกว่าจะเจอน้ำใหม่ เรื่องที่ 3 คน 2 คน ไปหาสิ่งของมาขาย คนที่มีปัญญาจะคิดว่าอะไรที่จะมีประโยชน์ให้เอาไว้ก่อน เช่น ผ้าไหม มีประโยชน์กว่าเชือกป่าน จึงเลือกที่จะขนผ้าไหม