เมื่อมีสติ จิตจะแยกแยะ และไม่เพลินไปตามการรับรู้ที่ผ่านเข้ามา,

จิตเราก็จะไม่สะดุ้ง สะเทือนไปตามผัสสะที่เข้ามากระทบ, รู้สักแต่ว่า “รู้”,

หากแต่จิตที่มีอวิชชา ตัณหา จะไปเชื่อมติดกันกับสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านทางวิญญาณ (การรับรู้) เกิดความเพลิน คือ นันทิ, เชื่อมความอยาก (โลภะ), ความไม่พอใจเป็นโทสะ, ความไม่เข้าใจด้วยเป็นโมหะ, เกิดเวทนา เกิดความยึดถือ คือ อุปาทาน เกิดเป็นตัวตน คือ อัตตา, จิตเข้าไปก้าวลง เกิดสภาวะ, เกิดทุกข์ ไม่สิ้นสุด,

เราทำวิปัสสนา เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง พิจารณา ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา,

ทุก ๆ สิ่ง มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ คือ ทนอยู่ไม่ได้ เพราะเปลี่ยนแปลงตลอด, ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัย จึงไม่มีความเป็นตัวตน คือ เป็นอนัตตา,

พิจารณา กายเป็นเพียงธาตุสี่ ไม่ใช่ตัวเราของเรา, พิจารณาอย่างนี้ ตลอดเวลา แม้ในชีวิตประจำวัน,

ปัญญา แสงสว่าง ที่ทำให้เจริญอยู่อย่างต่อเนื่อง, จะเกิด “วิชชา” ความรู้ขึ้นมาได้, อวิชชาก็ต้องดับไป.

ฟัง “สมถะเพื่อพัฒนาจิต”


Timeline

[00:01] กระบวนการวิปัสสนา เริ่มต้นด้วยการมีสติที่ลมหายใจ รับรู้แล้วแยกแยะ
[10:20] ความสำคัญของวิญญาณ ตัวเชื่อมกายใจ ตัวที่จิตใช้เป็นเครื่องมือเพลิน และยึดถือ
[22:46] วิปัสสนา คือ การเห็นแจ้งจากการแยกแยะ มรรคกับทุกข์ สติคู่กับวิญญาณ
[29:03] การทำงานร่วมกันของตัณหา และอวิชชา
[38:53] วิปัสสนาทำให้ปัญญาเจริญละอวิชชาได้ เห็นความจริงอันประเสริฐ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
[53:35] สรุป