วิญญาณในปฏิจจสมุทบาท และในขันธ์ 5 ความหมายจะเหมือนกัน แปลว่า การรับรู้ การที่จิตไปทำหน้าที่ในการรับรู้

วิญญาณในขันธ์ 5 อยู่ในช่องทางใจ ซึ่งไปทำหน้าที่รับรู้ รูป (อายตนะ) เวทนา สัญญา สังขาร เป็นกองทุกข์ อยู่ในทุกขอริยสัจ

วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท จะเป็นอาการที่แสดงถึงความเป็นเหตุปัจจัยเอื้อต่อกันเป็นคู่ต่อเนื่องกันไปเป็นสายใน 12 อาการ จัดเป็น “อริยสัจที่สมบูรณ์” (คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เป็นได้ทั้งสายเกิดทุกข์ และสายดับทุกข์

จิตในปฏิจจสมุปบาท

เปรียบปฏิจจสมุทบาทได้กับหน้าปัดของนาฬิกามี 12 อาการอยู่ในตัวเลขนั้น และ “จิต” ก็เปรียบได้กับเข็มนาฬิกาที่อยู่ตรงกลางวิ่งไปรับรู้ตามอาการต่าง ๆ

ปลดล็อก 2 ทาง – เหตุของวิชชา

1.  โพชฌงค์ 7 ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ (สติ, ธัมมวิจยะ, วิริยะ, ปิติ, ปัสสัทธิ, สมาธิ, อุเบกขา) มีเหตุเกิดมาจาก <- สติปัฏฐาน 4 <- อนุสติ 10 <- สติ

2. ทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัยของศรัทธา เกิดปัญญา “ภวนามยปัญญา” (ปัญญาที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ) -> ปราโมทย์ -> ปิติ -> ปัทสัทธิ -> สุข -> สมาธิ -> เห็นตามความเป็นจริง -> นิพพิทา (หน่าย) -> วิราคะ (คลายกำหนัด) ->วิมุตติ (พ้น) -> นิพพาน

ฟัง “ปฏิจจสมุปบาท–เหตุเกิดวิชชา และวิมุตติ (ตอนที่ 6)”


Timeline

[00:46] ปฏิบัติภาวนา เจริญเมตตาภาวนา
[08:40] วิญญาณ ใน “ปฏิจจสมุปบาท” และใน “ขันธ์ 5”
[11:05] ความหมายของ ” วิญญาณ “
[31:31] “จิต” เข้าไปรับรู้
[42:14] การเข้าใจและเข้าถึง “ปฏิจจสมุปบาท” ด้วยปัญญา 3 ระดับ