พระผู้มีพระภาคเจ้าหลังจากตรัสรู้ได้ใหม่ ๆ ทรงคิดใคร่ครวญในปฏิจจสมุปบาท โดยเริ่มจากทุกข์ว่า “เพราะอะไรหนอมี..ทุกข์จึงมี” ไล่หาเหตุไปเรื่อยๆ จนเจอ “อวิชชา คือ ความไม่รู้” และเมื่อจะบอกสอนต่อก็ได้เรียบเรียงบทพยัญชนะเพื่อให้เกิดความรัดกุมรอบคอบ โดยเริ่มจากสิ่งสำคัญที่สุดคือ “อวิชชา” ไล่ไปเรื่อย ๆ ใน 12 อาการ จะมีลักษณะคล้ายหน้าปัดนาฬิกาที่วนไปเรื่อยๆ อยู่อย่างนั้น (วัฏฏะ)

เหตุเกิดของวิชชา และวิมุตติ

เมื่อใคร่ครวญมาว่า “เพราะอะไรมี อวิชชาจึงดับ” นั่นก็คือ วิชชา “เพราะมีวิชชา อวิชชาจึงดับ” และอะไรเป็นเหตุเกิดวิชชา คำตอบก็คือ วิมุตติ และอะไรเป็นเหตุเกิดวิชชา และวิมุตติ นั่นก็คือ “โพชฌงค์ 7” องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม

สติปัฏฐาน 4 ทำให้เกิดโพชฌงค์

กระบวนการเกิดโพชฌงค์แต่ละข้อเริ่มมาจาก “สติ” เป็นเงื่อนไขปัจจัยต่อกัน เพราะอาศัยสติจึงเกิด -> ธัมมวิจยะ (เฟ้นธรรม) -> วิริยะ -> ปิติ (อิ่มใจ) -> ปัสสัทธิ (สงบระงับ) -> สมาธิ -> อุเบกขา (วางใจเป็นกลาง เห็นตามเป็นจริง) และเหตุเกิดสติปัฏฐาน 4 ก็คือ อนุสติ 10 เป็นกระแสแห่งการ “เกิดวิชชา-ดับอวิชชา”

ทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัยของศรัทธา

ทุกข์มีผล 2 อย่าง คือ จมอยู่กับทุกข์ เพราะมีความหลงไหลเป็นเหตุ หรือ แสวงหาทางออกที่พึ่งภายนอก คือ มีศรัทธาเพื่อให้เกิดการปฏิบัติทำจริงแน่วแน่จริงเป็นกระแสไปจนถึงการดับทุกข์ “ทุกข์จึงเป็นที่ตั้งอาศัยของศรัทธา”

ฟัง “ปฏิจจสมุปบาท–สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน (ตอนที่ 5)”


Timeline

[00:31] ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ
[07:23] เข้าใจปฏิจจสมุปบาท
[12:00] กระบวนการเกิดวิชชา–ดับอวิชชา
[15:43] โพชฌงค์ 7 เหตุเกิดวิชชา และวิมุตติ
[18:33] สติปัฏฐาน 4 เป็นกระบวนการเกิดโพชฌงค์ 7
[30:45] “สติ” ในอนุสติ 10 ประการ
[40:45] ปฏิจจสมุปบาท แบบอนุโลม
[45:48] ทุกข์เป็นที่ตั้งของอาศัยศรัทธา