สูตร#1 มหาโคปาลสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ทรงปรารภความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนาของภิกษุ ทรงเปรียบเทียบ คนเลี้ยงโคผู้ไม่ฉลาดเปรียบกับภิกษุผู้ไม่ฉลาดเพราะขาดองค์คุณ 11 ประการ จะไม่เจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนานี้ และคนเลี้ยงโคผู้ฉลาดเปรียบกับภิกษุผู้ฉลาดเพราะมีองค์คุณ 11 ประการ จะเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนานี้

สูตร#2 จูฬโคปาลสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เขตเมืองอุกกเจลา แคว้นวัชชี ปรารภเหตุการณ์ในอดีตเรื่องของคนเลี้ยงโคที่พาฝูงโคลงน้ำว่ายตัดกระแสน้ำ ตรัสเล่าเปรียบเทียบให้ฟัง 2 กรณี 1. คนเลี้ยงโคไม่ฉลาด ไม่พิจารณาฝั่งนี้ฝั่งโน้นให้ดีก่อน ตรงที่ต้อนฝูงโคลงแม่น้ำนั้นไม่ใช่ท่าข้าม ว่ายเข้าไปในวังวนของกระแสน้ำกลางแม่น้ำ ถึงแก่ความตายหมดทั้งฝูง 2. คนเลี้ยงโคผู้ฉลาด ต้อนฝูงโคไปสู่ที่หมาย ว่ายตัดกระแสน้ำถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดิภาพ เพราะตรงที่ข้ามเป็นท่าน้ำ ซึ่งพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงปล่อยโคข้ามไปตามลำดับ เปรียบเหมือนสมณะ หรือพราหมณ์ผู้ฉลาดเรื่องโลกนี้ และโลกหน้า รู้ทั่วถึงธรรมทั้งปวง สามารถชักนำผู้อื่นให้ได้รับความสุขพ้นทุกข์ทั้งปวงได้

สูตร#3 นาคสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าด้วยองค์ของช้างต้น ซึ่งเป็นช้างควรแก่พระราชา จะต้องประกอบด้วยองค์ 4 ประการ จึงนับว่าเป็นพระราชพาหนะโดยแท้ เปรียบเทียบกับภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม 4 ประการ คือ เป็นผู้เชื่อฟัง เป็นผู้ฆ่าได้ เป็นผู้อดทน และเป็นผู้ไปได้

อ่าน “มหาโคปาลสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

อ่าน “จูฬโคปาลสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

อ่าน “นาคสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “ภัททาลิสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์


Timeline

[04:15] ว่าด้วยคนเลี้ยงโค สูตรใหญ่ มหาโคปาลสูตร
[24:07] ว่าด้วยคนเลี้ยงโค สูตรเล็ก จูฬโคปาลสูตร
[36:45] ว่าด้วยองค์ของช้างต้น นาคสูตร
[44:53] บางส่วนจากภัททาลิสูตร