ช้างของพระราชาที่ควร ช้างสั่งให้ไปสู่ทิศใด ที่เคยไปหรือไม่เคยไป ก็ย่อมไปสู่ทิศนั้นโดยพลันท่านเทียว,

เจริญอานาปานสติ เพื่อฝึกพาจิตของเราไปตามทางอันเกษม ทางอันมีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง ไปตามทางที่เราไม่เคยไป คือ นิพพาน,

เปรียบเราเหมือนช้างที่ออกจากป่า คือ มีสัมมาทิฏฐิ เพื่อมาฝึกแสวงหาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า (คนฝึกช้าง), เพื่อให้จิตสงบ ไม่เผลอเพลิน จึงจำเป็นต้องผูก “จิต” ไว้กับ “สติ” ด้วย “ลมหายใจ” เปรียบเหมือนผูกช้างไว้กับเสาด้วยโซ่ตรวน

เมื่อสติมีกำลัง มากขึ้น, ควาญช้างจะสั่งให้ไปสู่ทิศใด ที่เคยไปหรือไม่เคยไป ก็ต้องไปสู่ทิศนั้น

เปรียบเราฝึกจิต ให้รับคำสอนของพระพุทธเจ้า นอบน้อมเดินตามทาง, ที่เราไม่เคยไปในสังสารวัฏ, ให้จงไปตรงนั้น คือ นิพพาน,

จุดทางเข้านิพพาน, คือ เราต้องเห็นรอยต่อ, รอยต่อ คือ เห็นความไม่เที่ยง, เห็นการเกิดขึ้น การดับไป ของทุกอย่างที่เราเห็น ได้ยิน ได้สัมผัสนั้น, ณ ปัจจุบัน, นั่นจะเป็นประตู,

แล้วเคาะประตู คือ น้อมเข้ามาสู่ตัวเราว่า, จิตเราก็ไม่เที่ยง, ใคร่ครวญว่า ไม่เที่ยง คือ ทุกข์, ไม่ใช่ตัวตนของเรา, เราไม่ควรจะยึดถือ, ให้วางความยึดถือนั้นเสีย, วางด้วยปัญญานั้นคือ เปิดประตูเข้าไปเลย,

จิตจึงดำรงอยู่ด้วยดี

มีความร่าเริงอยู่ด้วยดี ตั้งอยู่ด้วยดีด้วยสติ, 

ชื่อว่ารับเอาปัญญาที่พระพุทธเจ้าท่านมอบไว้,

ให้เป็นผู้มีส่วนแห่งปัญญาที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว 


Timeline

[00:01] ฝึกจิตให้เป็นดุจช้างอาชาไนย ไปตามทาง เริ่มด้วยลมหายใจ
[13:48] ผูกช้างไว้กับเสา ผูกจิตไว้กับสติไว้กับลม สติมีกำลัง
[30:48] มรรคครบสู่หนทางที่ไม่เคยไป นิพพาน ทำตามมรรคแต่สุดท้ายเหนือมรรค
[44:38] เห็นรอยต่อ จะไปต่อได้ รอยต่อของความเกิดขึ้นของความดับไป
[53:45] เปิดประตูโดยเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ควรยึดถือ ควรวางเสีย แล้วอยู่ด้วยสติ