พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเน้นสอนเรื่องเกี่ยวกับ “ความทุกข์และความดับทุกข์” ดั่งพุทธภาษิตที่ว่า “ภิกษุ ท. ก่อนแต่นี้ก็ดีบัดนี้ก็ดี ตถาคตบัญญัติ (เพื่อการสอน) เฉพาะเรื่องความทุกข์กับความดับแห่งทุกข์เท่านั้น” ปฏิจจสมุปบาท จึงจัดว่าเป็นหัวใจชองศาสนาและเป็นอริยสัจโดยสมบูรณ์เพราะแสดงให้เห็น ”ทุกข์” ด้วยลักษณะเป็นธรรมชาติที่ต่างอาศัยกันและกันแล้วเกิดขึ้นหรือดับลง กล่าวคือ ต่างอาศัยเหตุเกิด และเหตุดับ

ความหมายของปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ :-

“เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ และเพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ”

ชรา คือ ความแก่ ความมีผมหงอก หนังเหี่ยว ความสิ้นไป ๆ แห่งอายุความแก่รอบแห่งอินทรีย์ในสัตวนิกายทั้งหลาย

มรณะ คือ การตาย การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย

ชาติ คือ การเกิด การบังเกิด

“เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ และเพราะภพดับ ชาติจึงดับ”

ภพ คือ ความเป็นสภาวะ (time & space) ในกามภพ รูปภพ และอรูปภพ

“เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ และเพราะอุปาทาดับ ภพจึงดับ”

อุปาทาน คือ ความยึดมั่นในกาม ในทิฏฐิ ในศีล–วัตร และในวาทะของตน

“เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน และเพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ”

ตัณหา คือ ความทะยานอยากในสัมผ้สทั้ง 5 แบ่งเป็น กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา

“เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา และเพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ”

เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

ฟัง “ปฏิจจสมุปบาท (ตอนที่ 1)”


Timeline

[05:56] ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ
[07:35] ความหมายของปฏิจจสมุปบาท
[11:58] ปฏิจจสมุปบาทในแต่ละอาการ “ชรามรณะ” ความแก่ และความตาย
[16:04] “ชาติ” การเกิด
[21:30] “ภพ” ความเป็นสภาวะ
[31:58] “อุปาทาน” ความยึดถือ
[50:10] “ตัณหา” ความทะยานอยาก
[54:25] “เวทนา” ความรู้สึก