เจริญธัมมานุสติ คือ การระลึกถึงธรรมะ, ใคร่ครวญบทแห่งธรรมในชื่อที่ว่า อชาตสูตรคือการไม่เกิดอีก,

ตั้งสติให้เกิดขึ้น จากการปรุงแต่ง คำว่าธัมโม, จนจิตระงับลง, อาจมีความคิดนึกนั่นคือ มีวิตก วิจารอยู่บ้าง นี่คือฌานหนึ่ง,

นั่นคือ จิตเป็นสมาธิแล้ว, เกิดเป็นสัมมาสมาธิ, องค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่างได้เกิดขึ้นแล้ว,

สติก็พัฒนาขึ้นไปอีก, ให้มีความละเอียดลงละเอียดลง, ความคิดนึก วิตกวิจาร ระงับ, เข้าสู่ฌานสอง, สติตั้งไว้ตลอด ต่อเนื่องๆ, ความระงับลงก็มากขึ้น ละเอียดลงไปอีก, จะเหลือแต่อุเบกขาสุข คือ วางเฉย แต่ยังมีสุขเจืออยู่ คือ ฌานสาม, สติเราตั้งไว้ไม่เผลอ ความระงับลงก็ลึกซึ้งไปอีก, เหลือแต่อุเบกขาล้วน ๆ คือ ฌานสี่, ฝึกทำอย่างนี้เข้า ๆ ออก ๆ อยู่เรื่อย ๆ, จนอินทรีย์แก่กล้า,

ใคร่ครวญ ธรรมะพระพุทธเจ้า “สิ่งที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่ถูกอะไรทำ ไม่ถูกอะไรปรุง นั้นมีอยู่”,

ด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ถ้าว่า “การเกิด การปรุง มีอยู่, การดับ การไม่ปรุงก็ต้องมี”,

แล้วจะให้ดับ นั่นคืออย่าไปสร้างเหตุ, นั่นคือ ให้เหตุดับ, ด้วย

“การปรุงแต่ง ที่ลดลง ระงับลง, เป็นปัจจัยเงื่อนไขให้เกิด ความมี ความเป็น ลดลง ลดลง”,

ปฏิบัติไปตามทางนี้ ให้อินทรีย์แก่กล้าขึ้น, จนจิตระงับลง ระงับลง เข้าสู่สภาวะที่ไม่เกิด, ไม่มี, ไม่ถูกอะไรทำ, ไม่ถูกอะไรปรุงแล้ว, มาตามทางนี้, ทางอันมีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง, แล้วเราจะอยู่เหนือสุขเหนือทุกข์ได้.


Timeline

[00:01] อชาตสูตร การไม่เกิดอีก ทำจิตให้สงบด้วยสวากขาตธัมโม
[08:43] พัฒนาความสงบระงับ 4 ระดับ มาตามทางอันประเสริฐ
[15:06] ความสงระงับระดับที่ 1 ยังมีความคิดอยู่แต่ไม่ใช่กาม พยาบาท เบียดเบียน
[19:40] ความสงบระงับระดับที่ 2 การเกิดขึ้นของปิติสุข ความคิดน้อยลง
[24:43] ความสงบระงับระดับที่ 3 อุเบกขาสุขเกิดขึ้น
[29:22] ความสงบระงับระดับที่ 4 อุเบกขาล้วน ๆ จะแยกแยะชนิดการปรุงแต่งได้
[36:28] ใคร่ครวญธรรม : อสังขตธรรมนั้นมีอยู่
[44:50] หนทางแห่งนิพพาน การปรุงแต่งจนเกิดความสงบระงับจนไม่เหลืออะไร มีอยู่