Q : ทำไมจึงต้องมีการเอื้อเฟื้อพระวินัย ?

A : เพราะพระวินัยและสิกขาบททุกอย่างพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นมีไว้สำหรับภิกษุสงฆ์ (หมู่ภิกษุ) เมื่อเราคล้อยตามพระวินัย มีความละเอียดรอบคอบ เอื้อเฟื้อตามพระวินัย จะทำให้เราสามารถที่จะมีพื้นฐานที่ดี ทำการภาวนาทางจิตใจให้สูงขึ้นได้

Q: ในศีลบางข้อที่เราไม่มีโอกาสที่จะรักษาแล้ว ถือว่าเรายังจะมีศีลข้อนั้นหรือไม่ ?

A: คนที่รักษาศีล 5 และไม่คิดที่จะทำผิดศีล 5 ก็คือ เป็นเจตนา ท่านใช้คำว่า “สิกขาบท” คือ จุดที่เรามาศึกษาด้วยการปฏิบัติ จึงเป็นศีลที่ควบคุม กาย วาจา ใจ ของเรา ด้วยเจตนาอันเป็นเครื่องงดเว้น เจตนาจึงเป็นลักษณะที่เราศึกษาด้วยการปฏิบัติ นั่นเอง

Q : ไม่ควรฝากของมีค่าไว้กับพระ

A : ไม่ควรฝากของมีค่าไว้กับพระ เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายกับพระได้ และถ้าหากของหายหรือมีโจรปล้น พระก็จะถูกครหา เพราะฉะนั้น เงินทอง และของมีค่า ไม่ควรแก่สมณะไม่ว่าประการใดทั้งสิ้น รวมไปถึงไม่ควรฝากของที่เป็นวัตถุอนามาสด้วย

Q : การถวายของให้พระกับถวายให้สงฆ์

A : การถวายของให้สงฆ์กับภิกษุ ไม่เหมือนกัน “ภิกษุ” หมายถึง บุคคล พระแต่ละรูป “สงฆ์” หมายถึงหมู่ การถวายของต่อสงฆ์ ต้องมีตัวแทนของสงฆ์มาเป็นผู้รับ แต่ถ้าตัวแทนสงฆ์จะบอกโยมว่าถวายให้อาตมาก็ได้ ลักษณะเช่นนี้ ผู้ถวาย อย่าทำตาม เพราะสำหรับพระแล้ว ท่านจะผิดพระวินัย จะอาบัติ เพราะการน้อมลาภที่เกิดแก่สงฆ์เข้าสู่ตน เป็นอาบัติ และสิ่งนั้นตนก็จะบริโภคไม่ได้ แต่หากพระจะขออาหารให้พระรูปอื่นที่อาพาธ สามารถทำได้ แต่พระที่ขอจะไม่สามารถฉันอาหารชนิดนั้นได้ / วิธีการที่จะถวายให้หมู่สำหรับพระสงฆ์ คือ 1. แบ่งแบบวัดป่า 2. แบ่งแบบจับสลาก/สลากภัต 3. เก็บไว้ในคลัง ใครต้องการก็ไปเบิกได้

Q : วิธีการปลงอาบัติ

A : คำว่า “ปลง” คือเปลื้อง หมายถึง ประกาศความผิดของตนเองออกมา ต้องมีภิกษุอีกองค์หนึ่ง มารับฟัง รับทราบ ว่ามีความผิดอะไร ข้อไหน พระสงฆ์จึงมีการปลงอาบัติ เพื่อให้พัฒนาและปรับปรุงตัว

Q : พระภิกษุปลงอาบัติซ้ำ ๆ ได้หรือไม่อย่างไร ?

A : หากผิดซ้ำซา จำเจ พระอุปัชฌาย์ต้องไปเตือน เพราะการผิดซ้ำซาก จำเจ จะทำให้ยิ่งมีความผิดมากยิ่งขึ้นไปอีก ในพระพุทธศาสนาจึงมีการให้แก้ไขตั้งตัวได้

Q : เรื่องการเรียนธรรมะ “อย่าออกเสียงแข่งกันเวลาเรียนธรรมะ”

A : มีสิกขาบท ที่บอกว่า เวลาที่ออกเสียงในการเรียนธรรมะ อย่าไปออกเสียงพร้อมกับพระสงฆ์ อย่าไปออกเสียงดังแข่งกัน ถ้าพระสงฆ์สอนในขณะที่เรียนธรรมะด้วยกัน แล้วเกิดกล่าวสอนให้ผู้ที่เรียนธรรมะออกเสียงพร้อมกันไป การออกเสียงพร้อมกันไป ถือว่าเป็นอาบัติ คำว่า “กล่าวแข่งกัน” คือ พูดบาลี ท่านจึงไม่ให้กล่าวพร้อมกันในบริบทที่ว่าแข่งกัน เพราะฉะนั้น คำพูดที่ว่า “อย่าออกเสียงพระธรรมพร้อมกับพระสงฆ์” หมายถึงบาลี ก็คือจุดนี้

Q : ลักษณะของการกล่าวธรรม แสดงธรรม

A : มี 3 รูปแบบ คือ 1. การบอกพุทธพจน์ที่เป็นบาลี 2. แสดง คือ อธิบายที่บอกนั้น 3. การท่องตาม ออกเสียงตามที่บอกนั้น ซึ่งก็คือสวดมนต์นั่นเอง

Q : การพักร่วมกันกับพระภิกษุ

A : ห้ามฆราวาสที่เป็นผู้ชายหรือสามเณร นอนที่ในมุมบังหรือนอนที่เดียวกับพระเกิน 3 คืน เพื่อรักษาพระวินัยของพระสงฆ์ ถ้าเกินเป็นอาบัติ

Q : การใช้คำพูดที่สมควรแก่ภิกษุ (กัปปิยโวหาร) ในการใช้ฆราวาสไปขุดดินหรือตัดต้นไม้

A : พระต้องใช้คำพูดที่เป็น “กัปปิยโวหาร” (คำพูดที่สมควรแก่ภิกษุ) ในการที่จะให้ฆราวาสไปขุดดินหรือตัดต้นไม้ ท่านบัญญัติข้อนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งศรัทธา


Timeline

[03:48] ทำไมจึงต้องมีการเอื้อเฟื้อพระวินัย?
[07:49] พระวินัยและสิกขาบทมีไว้สำหรับภิกษุสงฆ์
[11:12] ในศีลบางข้อที่เราไม่มีโอกาสที่จะรักษาแล้ว ถือว่าเรายังจะมีศีลข้อนั้นหรือไม่?
[13:40] ไม่ควรฝากของมีค่าไว้กับพระ
[15.37] การถวายของให้พระกับถวายให้สงฆ์
[26:23] วิธีการปลงอาบัติ
[33:04] พระภิกษุปลงอาบัติซ้ำ ๆ ได้หรือไม่อย่างไร?
[35:20] เรื่องการเรียนธรรมะ “อย่าออกเสียงแข่งกันเวลาเรียนธรรมะ”
[39:13] ลักษณะของการกล่าวธรรม แสดงธรรม
[48:23] การพักร่วมกันกับพระภิกษุ
[53:47] การใช้คำพูดที่สมควรแก่ภิกษุ (กัปปิยโวหาร) ในการใช้ฆราวาสไปขุดดินหรือตัดต้นไม้