Q: อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้นตรงไหน ใครเป็นผู้เห็น?

A: อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกรวมว่า “ไตรลักษณ์” เป็นคุณสมบัติที่มีอยู่กับทุกสิ่งทุกอย่าง คือ สิ่งที่เป็นสมมุติทั้งหมด เรียกว่า “สังคตธรรม” คือทำอันเป็นเครื่องปรุงแต่ง ด้วยเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ลักษณะของสังคตธรรม คือ มีการเกิดปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่มีภาวะอื่นๆ ปรากฏและขันธ์ 5 ก็เป็น สังคตธรรม เมื่อเรามีการรับรู้ผ่านอายตนะทั้ง 6 แล้ว เกิดความเพลิน ความพอใจ แล้วเราไปยึดถือในความเพลินความพอใจนั้น ก็จะมีความเป็นตัวตน (อัตตา) เกิดขึ้น คิดว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นไปตลอด (นิจจัง) คิดว่าทำให้เราสุขไปตลอด (สุขขัง) จะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ทำให้เราเข้าใจว่า สิ่งที่สุขนั้น มัน “เที่ยง” ด้วยความเข้าใจผิดของเรา ทำให้เราไม่เห็น ทำให้เราเข้าใจว่าเป็น นิจจัง สุขขัง อัตตา ในสิ่งที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะอวิชชา บังไว้ เพราะฉะนั้น เราจะเข้าใจ จะรู้ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ ก็ต้องเกิดตรงที่ไม่รู้ เราจะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ ก็ต้องเห็นตรงที่เรายึดถืออยู่ 

Q: จะเห็นปัญญาแท้จริงได้ในสิ่งที่เรายึดถือ เราจะเห็นได้อย่างไรหรือใครเป็นผู้เห็น?

A: เราจะเห็นสิ่งที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ด้วยปัญญา ด้วยการภาวนามยปัญญา / การพิจารณาสิ่งที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ เห็นไปตามจริง ในสิ่งที่เรายึดถือ ว่า อะไรก็ตามที่อาศัยเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย แล้วเกิดขึ้น ถ้าเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย เปลี่ยนแปลงไป มันก็จะเปลี่ยนตาม เป็นธรรมดา จะขอให้คงอยู่อย่างเดิมไม่ได้ / การที่เราจะเห็นได้ เราก็ต้องเห็นตรงที่เรายึดถือ ในการภาวนานั้น เราต้องมีศีลเป็นพื้นฐาน ให้เราตั้งสติขึ้น มีสมาธิ ทำความเพียร อาศัยการฟังอยู่ (สุตตมยปัญญา) การใคร่ครวญ (จินตมยปัญญา) เป็นประจำ มีศรัทธา ประคับประคอง ลักษณะเช่นนี้คือ มีอินทรีย์ 5 มีพละ 5 คือ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ผลักดันกันทำให้เกิดปัญญา เราต้องทำตาม มรรค 8 เพื่อปัญญาที่เป็น “โลกุตรปัญญา” เกิดขึ้น เราจึงจะเห็นสิ่งที่เป็น นิจจัง ว่าเป็น อนิจจัง จึงจะเห็นสิ่งที่เป็น สุขขัง ว่าเป็น ทุกขัง จึงจะเห็นสิ่งที่เป็น อัตตา ว่าเป็นอนัตตา


Timeline

[03:58] อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้นตรงไหน?
[23:19] จะเห็นปัญญาแท้จริงได้ในสิ่งที่เรายึดถือ เราจะเห็นได้อย่างไรหรือใครเป็นผู้เห็น?