“เห็นทุกข์อยู่ แต่ไม่เห็นธรรม ก็เครียดไง”

เอาความเครียดมาใช้ในการพัฒนาชีวิตของเรา ด้วย 3 ขั้นตอน การใช้สมาธิเพื่อคลายเครียด ดังนี้

  1. สังเกตให้ได้ก่อนว่าเราเครียดแล้วหรือยัง (ให้อยู่กับปัจจุบัน)
  2. ถ้าไม่เครียดเลย ไม่ดี ต้องมีเครียดบ้าง
  3. ขั้นบูรณาการ คือ ถ้ารู้ว่าเครียด ให้มีสติเป็นยามเฝ้าประตู คือ รู้ปัจจุบัน ไม่ไปตามอารมณ์ ให้ยามเฝ้าอยู่ที่ป้อมยาม คือ ลมหายใจ เมื่อเครียดให้สูดลมหายให้มีสติขึ้นมา พอจิตเราไม่เพลินไปตามอารมณ์ ความเครียดระงับลง ๆ จึงเริ่มเป็นสมาธิ จะเห็นทุกข์ เอาปัญญามาดู ให้เห็นเพื่อเข้าใจว่าเป็นธรรมดาเกิดขึ้นได้ ตั้งอยู่ และดับไป พอเราเข้าใจเหตุผล ความมั่นใจ คือ ศรัทธา จะเชื่อมวงจรได้ด้วยทุกข์ทันที เพราะเราเข้าใจเหตุผล วงจรของใช้ตัวแปรเรื่องของอินทรีย์มาบูรณาให้เกิดการคลายเครียด ให้เห็นธรรม เราจึงจะอยู่กับสถานการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ และรับมือกับปัญหาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ การงาน ปัญหาสุขภาพได้โดยไม่เครียด

Timeline

[03:42] ปัญหาเรื่องสุขภาพ หากเราเจอประเด็นที่เสี่ยงตายหรือเป็นโรคภัยไข้เจ็บหนัก ๆ
[08:05] จิตใจเราถ้ามีอินทรีย์ที่มีความแก่กล้า เราจะหาทางออกได้เมื่อเราเจ็บไข้
[10:33] อินทรีย์ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
[14:57] จะทำอย่างไรถึงเรียกว่า “อยู่กับทุกข์เป็น”
[16:21] ปัญญามาต่อกับศรัทธา ต้องเชื่อมด้วยทุกข์
[18:15] เห็นทุกข์เข้าใจทุกข์ ต้องอยู่กับทุกข์ให้เป็น เห็นทุกข์เห็นธรรม
[25:35] เถรีภาษิต เรื่องพรหมที่ไม่รู้นิพพานก็ยังต้องทุกข์อีก
[28:41] ความเครียดคืออะไร?
[34:09] เราต้องสังเกตตัวเองว่า ตัวเองเครียดแล้วเมื่อไหร่
[35:02] ขั้นตอนที่ 1 สังเกตให้ได้ก่อนว่าเราเครียดแล้วหรือยัง
[35:35] ขั้นตอนที่ 2 ถ้าไม่เครียดเลย ไม่ดี ต้องมีเครียดบ้าง
[39:18] Case พระโสณะ
[40:44] ความเครียดที่พอดี ๆ หมายถึง ความเพียรที่ไม่ย่อหย่อนเกินไป
[50:57] ขั้นตอนที่ 3 ขั้นบูรณาการ คือถ้ารู้ว่าเครียด ปรับให้พอดี เริ่มจากมีความเพียร มีสติ
[54:40] สมาธิเป็นตัวปรับสมดุลในจิตใจของเรา