เจริญธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน ใคร่ครวญธรรมะเรื่อง ขันธ์ห้า, ภาวนาพิจารณาอริยสัจสี่ หรือมรรคแปด ลงไปในขันธ์ทั้งห้าเพื่อให้เกิดปัญญา  

พิจารณาใคร่ครวญ ขันธ์ห้า ที่มีเพียงรูปและนาม ด้วยจิตที่สงบให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนคือเป็นอนัตตา เปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขปัจจัย มีเกิด มีดับ อยู่ตลอดเวลา

หากแต่เมื่อใด เราเผลอเพลินพอใจ ลุ่มหลงตามสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นอนัตตา, ความเพลินความพอใจนั้นคืออุปาทาน คือความยึดถือ เกิดขึ้นในสิ่งที่เป็นอนัตตา, จึงเผลอเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา เป็นเรา, เกิดเป็นอัตตาขึ้นมา, ทุกข์จึงเกิดขึ้น ไม่สิ้นสุด

จะดับทุกข์ได้ ต้องเห็นขันธ์ทั้งห้าด้วยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเราของเรา ด้วยสติ, ด้วยมรรคแปด, ปราศจาก กาม พยาบาท เบียดเบียน, ศีล-สมาธิ-ปัญญา ก็รักษาจิตของเรา ให้มีความสงบ สติตั้งมั่น,

พิจารณาความไม่เที่ยงในช่องทางใจของเรา, เห็นด้วยความเป็นอนัตตา, ละความยึดถือ, ความทุกข์ สะดุ้งสะเทือนไม่เกิด, ปัญญาซึ่งเป็นส่วนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็เกิดกับเราทันที และได้ชื่อว่า เราเป็นผู้มีส่วนแห่งปัญญาของท่าน.


Timeline

[00:02] ภาวนาในขันธ์ห้าผ่านลมหายใจให้เป็นธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน
[07:33] นำความคิดมาพิจารณาให้เกิดปัญญาตามกระบวนการของอริยสัจสี่
[22:01] ใส่มรรคแปดลงไปที่ข้อสอบขันธ์ห้า แค่ปรับมุมคิด
[28:47] ด้วยสติพิจารณาความเป็นอนิจจังอนัตตาในขันธ์ทั้งห้า
[35:06] เสานั้นจะเป็นอวิชชา หรือสติอยู่ที่การโยนิโสมนสิการ ให้เกิดปัญญาที่จิต
[37:52] นำปัญญามาพิจารณาความไม่เที่ยงของกายและใจ
[43:51] จิตไปยึดถือสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา
[53:58] คำถามคือคำตอบ มรรคแปดใส่ลงในขันธ์ห้า จิตจะพ้นทุกข์ได้