พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ พ.ศ. 2559 เป็นนวัตกรรมการพิมพ์ด้วย อักษรเสียงอ่าน ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ทางเสียง หรือ “สัททสัญลักษณ์” (Phonetic Symbol) โดยคำว่า สัชฌายะ หมายถึง การท่องจำออกเสียงพระไตรปิฎกให้ขึ้นใจ โดยสร้างขึ้นต่อเนื่องจากการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมัน พ.ศ. 2548

พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ แบ่งเป็น 2 ชุด ได้แก่ 1. ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา) 2. ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ)

…………..

#49_เขมสูตร ท่านพระเขมะ และท่านพระสุมนะ ได้เข้าไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคกล่าวการพยากรณ์อรหัตผลโดยมีลักษณะที่กล่าวแต่ธรรมโดยไม่น้อมเข้ามาหาตน

#50_อินทริยสังวรสูตร อุปมาอุปมัยในธรรม 6 ประการ โดยเริ่มจากต่ำ-สูง คือ อินทรียสังวร -> ศีล -> สัมมาสมาธิ -> ยถาภูตญาณทัสสนะ -> นิพพิทา -> วิราคะ -> วิมุตติญาณทัสสนะ อุปมัยลงในต้นไม้ที่มีกิ่ง และใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค

อ่าน “เขมสูตร ว่าด้วยพระเขมะ” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


Timeline

[03:51] ร้อยปีชาตกาลกับการสัชฌายะ
[18:51] ลักษณะงานของมูลนิธิพระไตรปิฏกสากล
[27:27] เขมสูตร ว่าด้วยพระเขมะ
[39:18] อินทริยสังวรสูตร ว่าด้วยอินทรียสังวร