ศรัทธาของใครก็ตาม จะต้องเป็นศรัทธาที่มีทรรศนะ คือ มีความเห็น เห็นด้วยตา ด้วยปัญญาอย่างนี้ เป็นมูลเป็นเหตุอย่างนี้ จะเรียกว่า เป็นศรัทธาที่มั่นคง คือ “มีศรัทธาถึงพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว “

จะมีศรัทธาที่มั่นคง ไม่คลอนแคลนได้ ต้องเกิดจากปัญญาสามอย่าง คือ

  1. ปัญญาที่เกิดจากการฟังเรียกว่า สุตมยปัญญา คือ ควรเลือกฟังจากผู้เป็นกัลยาณมิตร หากแต่ความศรัทธายังคลอนแคลนอยู่ได้ จึงต้องเพิ่มในปัญญาที่สอง คือ
  2. ปัญญาที่เกิดจากการใคร่ครวญคิดพิจารณาเรียกว่า จินตามยปัญญา คือ มีวิมังสา ตรวจสอบ พิจารณาเหตุผลคือมีมูลราก แล้วให้เกิดศรัทธา คือ ความเชื่อ ความมั่นใจ ความเลื่อมใส ที่มั่นคงกว่าสุตมยปัญญา หากแต่ยังสามารถเลื่อนไหล ไม่มั่นคง จึงต้องเพิ่มในปัญญาที่สาม คือ
  3. ปัญญาที่เกิดจากการพัฒนา เห็นแจ้งด้วยตัวเองจริงๆ เรียกว่า ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา มีวิริยะ ลงมือทำความเพียร คือ ปรารภกุศล ละอกุศล สติระลึกถึงแต่สิ่งที่เป็นกุศล เกิดโวสสัคคารมณ์ คือ จิตที่มีการปล่อยวางอารมณ์ เกิดสมาธิ จิตตั้งมั่น สามารถรู้ชัดได้ใน สังสารวัฏ เห็นการหมุนวนไปของสิ่งที่เกิดขึ้นและดับไป วนไป ภาวนาจนตัณหาจางคลายไป เป็นความคลายกำหนัด เป็นความเย็น คือนิพพาน คือ เห็นด้วยปัญญา รู้ได้ด้วยปัญญา เกิดความรู้ คือ วิชชาขึ้น เรียกว่าเป็นปัญญา เกิดที่จิตเรา

ศรัทธาที่เกิดแบบนี้เรียกว่า เป็นศรัทธาที่มั่นคง มีมูลรากแล้วลงมือทำ เกิดวิชชา เกิดปัญญา จาก “ภาวนามยปัญญา”


Timeline
[00:00] ศรัทธาไม่คลอนแคลนหาได้จากปัญญาสาม
[07:11] สุตมยปัญญา ฟังแล้วจึงเชื่อ
[23:04] จินตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการใคร่ครวญพิจารณา ตรวจสอบ
[40:50] ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการพัฒนา เห็นแจ้งด้วยตน
[44:42] การเกิดขึ้นของโวสสัคคารมย์ และการเกิดขึ้นของวิชชา
[50:03] เห็นแจ้งด้วยตน เป็นอจลศรัทธา