เจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ให้เกิดสติขึ้น เพื่อที่จะดับ ปปัญจสัญญา

ปปัญจสัญญา คือ อนุสัย หรือกิเลส อันเป็นเครื่องทำความเนิ่นช้า เป็นเครื่องครอบงำ อุปนิสัย สันดาน หรือความเคยชิน

  • ที่เกี่ยวเนื่องกับความชอบใจ คือ ราคานุสัย
  • ที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดเคือง ไม่พอใจ คือ ปฏิฆานุสัย
  • ที่เกี่ยวเนื่องกับความคิดผิด คือ ทิฏฐานุสัย
  • ที่เกี่ยวเนื่องกับในลักษณะที่ตั้งคำถาม เคลือบแคลง ไม่ลงใจ คือ วิจิกิจฉานุสัย
  • ชนิดที่ถือตัว หมิ่นท่าน เรียกว่า มานานุสัย
  • ชนิดที่เป็นตัวตนขึ้นมา คือ ภวราคานุสัย คือ การกำหนัดติดในภพ การพอใจในฐานะ ตำแหน่ง
  • ความไม่รู้ ไม่เห็นจริงตามความเป็นจริงในสิ่งทั้งหลาย คือ อวิชชานุสัย

เมื่อมีผัสสะเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะเกิด เวทนา และเกิดอนุสัย ความเคยชินต่างๆ ต่อเวทนานั้น ไม่ว่าเป็นความ พอใจ ไม่พอใจ ความถูก ความผิด ความขัดเคือง ความสงสัย เกิดความเป็นตัวตน เหล่านี้ ถือเป็น มิจฉา คือ มีกิเลสเพิ่มขึ้น จิตไม่สงบ “การดับปปัญจสัญญานี้ได้ ก็คือ ดับตามเหตุของมัน” นั่นเอง

คือ ต้องมี “สติ” ทีจะแยกแยะสิ่งที่มากระทบ ว่า เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน

เมื่อไม่เกิดเวทนาใดๆ เพราะเห็นตามความเป็นจริง ก็ไม่เกิดเวทนาที่จะไป เนิ่นช้า ไปแช่ให้ถูกครอบงำ อนุสัยก็ไม่เกิด ปปัญจสัญญาก็ดับ

ก็จะอยู่เหนือเวทนา เหนือสุข เหนือทุกข์ คือ พ้น หรือแยกจากกัน คือ วิมุตตินั่นเอง


Timeline
[00:01] จิตตวิเวก “การดับปปัญจสัญญา”
[02:28] ปฏิบัติภาวนา ด้วยการระลึกพุทธานุสติ
[11:35] ทางเกิดแห่งกิเลสเครื่องเนิ่นช้า
[25:42] ถูกผิด ดูที่ “สัมมา”
[43:23] ทางดับแห่งปปัญจธรรม