เจริญธัมมานุสติ ธรรมะของพระพุทธเจ้า ทำจิตให้สงบ โดยการเอาจิตจดจ่ออยู่กับสติ จนจิตสงบ ระงับ

ต่อด้วยการเจริญวิปัสสนา คือ การสร้างปัญญาให้รู้เห็นตามที่เป็นจริง โดยการใคร่ครวญธรรมะ

ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ทั้งหมดทั้งปวง ส่วนใหญ่เป็นเรื่อง “ทุกข์” เมื่อใดที่เข้าไป “ยึดถือ” จะ “เกิดทุกข์” ทันที

ขันธ์ทั้งห้า คือ กองทุกข์ ที่เกิดจากการยึดถือว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา

เมื่อไปยึดถือจึงเกิดทุกข์ เพราะทั้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณเป็นอนัตตา คือ ไม่มีตัวตน จึงไม่เที่ยง คือ เปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขปัจจัยหรือเรียกว่าอนิจจัง จึงเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

พิจารณาธรรม โดยน้อมเข้ามาสู่ตน พิจารณาขันธ์ทั้งห้าของเราเอง ว่า “ไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์”

แม้แต่จิตก็ไม่ใช่ตัวเรา แต่เป็นสภาวะแห่งการสั่งสม ไปยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขารผ่านทางวิญญาณ การรับรู้ ว่าเป็นตัวเรา

หากแต่ความจริง ทั้งขันธ์ห้า และจิต “ไม่มี” ไม่มีอะไรเป็นตัวเรา เป็นของเรา

พิจารณา ใคร่ครวญธรรม เช่นนี้อยู่บ่อยๆ อวิชชาจะดับ เมื่ออวิชชาดับ วิชชา” จึงเกิด


Timeline
[00:00] สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนเป็นส่วนมาก พิจารณาผ่านธัมมานุสสติ ทำสมถะให้มีกำลัง
[16:15] ดื่มด่ำกับความสุขในภายในด้วยสติ สติจิตการรับรู้อยู่ด้วยกัน
[19:40] วิปัสสนาใคร่ครวญมาในธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนเป็นส่วนมาก
[22:29] สอนเรื่อง “ทุกข์” มาก ทุกข์คือขันธ์ทั้งห้าที่มีความยึดถือไปถือเอาไว้
[26:46] กองนี้ลดหรือเพิ่มได้ตามความยึดถือที่คืบคลาน ขาปล่อยหรือขายึด
[31:38] พ้นการยึดถือได้ด้วยการเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นอนัตตา ความเป็นทุกข์
[50:33] น้อมเข้าสู่ตน เพราะขันธ์ห้าคือตัวเรา กายใจนี้ไม่เที่ยง ไม่ควรยึดถือ
[54:19] จิตจะเที่ยงได้อย่างไรเพราะไปก้าวลงในสิ่งที่ไม่เที่ยง จิตสะสมผ่านขันธ์ห้า และการเกิดของวิชชา