ใจเป็นของกลาง จิตเป็นประภัสสร

เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยการตั้งสติขึ้น ให้เห็นจิตในจิต ให้เห็นจิตที่มีความสงบระงับลง แยกกันออกไปจากเครื่องเศร้าหมองต่างๆ

เราจะรักษาใจช่องทางนี้ให้ปกติอยู่ ใจนั้นต้องมีสติเป็นที่แล่นไปสู่ พอใจมีสติเป็นที่เล่นไปสู่, “สติ” นั้นจะทำให้ “ใจแล่นไปสู่วิมุตติ” ใจของเราก็จะพ้นได้

วิมุตติ แปลว่า พ้น พ้น นี่คือ แยกจากกัน “ใจของเราก็จะสามารถแยกจากส่วนที่เป็นกาย แยกจากส่วนที่เป็นเครื่องเศร้าหมองต่างๆ” ให้ใจมีความเป็นกลาง ได้ด้วยสติที่เราตั้งขึ้น

ให้มีสัมมาสติ มีสัมมาวายามะ ความเพียร รักษาทั้งใจ ด้วยรักษาทั้งจิต ไม่ให้มีเครื่องเศร้าหมอง คือ ราคะ โทสะ โมหะ มาหุ้มห่อ กลุ้มรุมจิตเรา จิตจะมีความผ่องใสขึ้น มีความสะอาดขึ้น มีความประภัสสร ปราศจากอกุศล ด้วยสติที่เราตั้งเอาไว้

หากแต่จิตที่เป็นประภัสสรก็ไม่เที่ยง เราไม่ควรไปยึดถือว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา ให้ “วาง” เลย ไม่ยึดถือในสิ่งนั้น

“ไม่มีกิจอื่นที่จะต้องทำขึ้น ยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว”


Timeline
[00:01] ใจเป็นของกลาง จิตเป็นประภัสสร พิจารณาผ่านจิตตานุปัสนาสติปัฏฐาน
[02:48] สิ่งที่เรียกว่าใจ
[11:41] สามสิ่งรวมกันเรียกว่าผัสสะ
[17:45] ใจเป็นของกลาง ที่กิเลสเครื่องเศร้าหมองเกิดขึ้นได้ แล้วทำให้การรับรู้ผิดเพี้ยน สำรอกออกด้วยมรรค 8
[27:15] จิต คือ การสะสม อะไรที่ทำให้สะสมแตกต่างกัน
[38:51] การเกิดขึ้นของจิตประภัสสร
[47:49] ประภัสสร สว่างแต่ไม่บริสุทธิ์
[51:26] จิตนี้เปลี่ยนแปลงได้ ไม่ควรยึดถือ