เจริญอานาปานสติ ใคร่ครวญธรรม หมวดเรื่องของการบูชาไฟ “ไฟที่ควรละ ไฟที่ควรบูชา” ด้วยจิตที่เป็นสมาธิ

มีไฟอยู่สามกองที่ควรละ ควรเว้น เพราะเป็นไฟแห่งอกุศล คือ ไฟแห่งราคะ ไฟแห่งโทสะ ไฟแห่งโมหะ

ไฟอีกสามประการที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา จะต้องบริหารให้อยู่เป็นสุข คือ ไฟคืออาหุไนยบุคคล ไฟคือคหบดี ไฟคือทักขิไณยบุคคล

ไฟคืออาหุไนยบุคคลได้แก่ มารดา บิดา

ไฟคือคหบดี คือ คนรอบข้างตัวเรา ทั้งคู่ครอง ทั้งครอบครัว ทั้งญาติพี่น้อง คนงานและ

ไฟคือทักขิไณยบุคคล คือ สมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

ใช้กาย วาจา ใจเป็นเครื่องบูชาที่จะประคับประคองไฟ คือ อาหุไนยะ คหบดี ทักขิไณยะ ได้โดยเริ่มจากให้มีสติ ตั้งขึ้นไว้ คือ มีสัมมาสติ, สัมมาวายามะ ตามมา คือ มีความเพียรพยายามเพิ่มกุศลธรรมตั้งจิตให้ดี รักษาจิตให้ถูก มีเมตตา มีอุเบกขา ก่อให้เกิด, สัมมาทิฐิ หมายถึงความรู้ หมายถึงปัญญา ที่เราจะต้องใคร่ครวญ ไตร่ตรอง โยนิโสมนสิการ, มีสัมมาวาจา, เกิดสัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ เราจะควบคุมความคิดของเรา ทำสิ่งที่เป็นกุศลทั้งกาย วาจา ใจ, เกิดสัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ ดำเนินชีวิตการกระทำทางกาย การกระทำที่ถูกต้อง อาชีพที่ถูกต้อง เพราะกิเลสลดลง

เมื่อเราประคับประคองบูชาไฟที่ถูก จิตของเราจะเป็นอารมณ์อันเดียว นี้คือสมาธิ เกิดเป็นสัมมาสมาธิ เมื่อครบองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง จิตสว่าง จิตนิ่งดิ่ง สงบเป็นประภัสสร แม้จิตประภัสสรก็ไม่เที่ยง ไม่ควรที่เราจะไปยึดถือ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ เห็นด้วยปัญญา วิชชาเกิด อวิชชาดับ นิพพาน คือ ความเย็นก็เกิดขึ้น


Timeline
[04:05] เจริญอานาปานสติ ทำเป็นธรรมชาติ ไม่บังคับ ไม่ตาม แยกแยะ
[19:21] จิตที่เป็นสมาธิจะปลอดจากไฟราคะ โทสะ โมหะ
[25:18] การบูชาที่เงื้อศาสตราทางกายทางวาจาทางใจเป็นไปเพื่อความทุกข์
[34:05] ไฟราคะโทสะโมหะ ควรละ ไม่ควรเติมเชื้อด้วยการบูชาทางกายวาจาใจ
[39:09] ไฟที่ควรบูชาผ่านเครื่องมือกายวาจาใจ
[50:05] บูชาไฟให้ถูกฝั่ง แยกด้วยสติ ทำมรรคให้ครบ จิตจะสว่าง
[55:21] จิตประภัสสรไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา