เจริญพุทธานุสติ ตามระลึกถึงความเพียรชนิดที่ไม่ถอยกลับของพระพุทธเจ้า

ในตอนก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ท่านได้ตั้งจิตไว้ซึ่ง อปฺปฏิวาณี หมายถึง ความไม่ถอยกลับ คือ ไม่สำเร็จ ไม่เลิกกลางคัน

คือ ภายหลังที่พระองค์กลับมาปฏิบัติตามทางสายกลาง อยู่ตามลำพัง แม้ว่ามีความเพียรในการปฏิบัติตามทางสายกลางอย่างสูง หากแต่ ก็มีหลายครั้งที่สมาธิก็เสื่อมไป จิตใจมีความสงบบ้าง ไม่สงบบ้าง เกิดมีความท้อแท้ พระองค์จึงต้องการกำลังใจอยู่บ้าง พระองค์จึงทรงตั้งจิตอธิษฐาน เพื่อสร้างกำลังใจให้ตัวเองว่า ฉันต้องบรรลุธรรมให้ได้ เราจะต้องไม่ถอยกลับในการทำความเพียรนี้ อธิษฐานลงไปอีก ตั้งใจลงไปอีก แม้ว่ามีกองทัพมารมากวน พระองค์ก็ทรงมีจิตแน่วแน่ จะไม่ลุกจากที่นั่ง ถ้าไม่บรรลุธรรม

อธิษฐานเอาไว้ตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าในการที่จะทำสิ่งนี้ให้สำเร็จ ถ้าไม่สำเร็จไม่เลิกกลางคัน นั่นคือ จิตตะ วิมังสา คือ การพิจารณาไตร่ตรองใคร่ครวญแก้ไขปรับปรุง มีฉันทะ มีวิริยะ คือ ความกล้า กล้าในการที่จะเผชิญหน้า กล้าที่จะลงมือทำ คือ อิทธิบาทสี่

จนเกิดปัญญา เห็นรูปแบบของการเกิด การดับ เห็นเหตุ ปัจจัย อาสวะ เห็นอริยสัจสี่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พิจารณาจนกิเลสหมดไปจากจิตท่าน เหมือนตาลยอดด้วน คือ ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว จึงเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาจากความเพียรที่ไม่ถอยกลับของพระองค์


Timeline
[01:35] รักษาจิตด้วยการเจริญพุทธานุสติ
[07:29] ความเพียรอันไม่ถอยกลับทำให้ได้มาซึ่งพุทโธ
[20:17] มุ่งมั่นไม่ถอยกลับในความเพียร
[37:14] การตั้งใจคือจิตตะในอิทธิบาทสี่
[45:25] คำถามที่ทำให้ค้นพบ pattern ของคำตอบ
[52:31] ตั้งจิตไว้ทีอิทธิบาทสี่ จนทำให้มีการเกิดขึ้นของวิชชาสาม
[54:51] เห็นอริยสัจสี่ รื้อถอนวัฏฏะ เหมือนตาลยอดด้วน