เจริญอานาปานสติให้เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพื่อให้เกิดสัมมาสติ ไม่ฟุ้งซ่าน

พึ่งตนพึ่งธรรมด้วยการดูลมหายใจของเรา ให้สติอยู่กับลมหายใจ ไม่ลืมลม

พอเราตั้งสติขึ้นมาได้จิตมีสติรักษา จะมีปัญญา ตอบสนองต่อผัสสะ อย่างมีสติ ไม่เกิดอกุศล ความฟุ้งซ่านลดลงได้

แล้วใคร่ครวญธรรมะ “อย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร”

การเห็นแก่ยาว คือ การจองเวรให้ยืดเยื้อ อย่าเห็นแก่สั้น คือ อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก เห็นแก่สั้น ตัดมิตรภาพขาดออกสั้นๆ เราก็จะไม่มีกัลยาณมิตร

หากแต่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า “ต้องมีกัลยาณมิตร”

ให้เรารักษากัลยาณมิตร ให้เหมือนว่าเป็นอวัยวะที่อยู่ในร่างกาย เชื่อมต่อกับตัวเรา

ผลที่ได้รับจากการ “ไม่เห็นแก่ยาว ไม่เห็นแก่สั้น” จิตใจของเราจะไม่มีการผูกเวร จะเกิดปัญญาเพื่อเชื่อมต่อ กัลยาณมิตร

เกิดเป็นกลุ่มก้อน แล้วยังสามารถเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร อาจมีผิดพลาดกันบ้าง ให้มีสติตั้งขึ้นใหม่

“สติ” นั้นจึงเป็นตัวที่สำคัญ เป็นประธาน ในการที่จะให้จิตของเรานั้น ไม่เห็นแก่ยาว ไม่เห็นแก่สั้น ระงับเวร ตั้งสติสัมปชัญญะ เอาไว้ได้


Timeline
[03:12] เจริญอานาปานสติให้เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเพื่อให้เกิดสัมมาสติ ไม่ฟุ้งซ่าน
[11:54] จะหยุดคิดต้องรู้จักแยกแยะ และหมั่นแตะเบรคความคิดด้วยสติ ไม่ลืมลม
[18:55] แค่รู้ว่ามีความฟุ้งซ่าน ไม่ตามไป สิ่งนั้นจะมีอำนาจเหนือจิตลดลง
[25:36] คำเตือนของบิดา: อย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น
[32:37] ลักษณะกัลยาณมิตรในระดับบุคคล 5 ประการ
[48:26] ผลที่ได้รับจากการไม่เห็นแก่ยาวไม่เห็นแก่สั้น จะเห็นก็ด้วยปัญญาที่เกิดจากการไม่ผูกเวร
[56:44] ผลสุดท้าย คือ เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร