ความตระหนี่นี้ มีไปตลอดสายของการปฏิบัติ ซึ่งจะมีความละเอียดลงไปตามลำดับขั้น การมาปฏิบัติก็เพื่อจะละความยึดถือ ก็คือละความตระหนี่เหล่านี้นั่นเอง

ข้อ#251-#253 ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ในกลุ่มของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะชนิดที่เป็นอเสขะ (อรหันต์) เป็นผู้ที่ควรแก่การเป็นพระอุปัชฌาย์ ผู้ให้นิสสัย ผู้ให้สามเณรอุปัฏฐากได้

ข้อ#254-#263 ความตระหนี่ 5 ประการคือ 1.ตระหนี่อาวาส 2.ตระหนี่ตระกูล 3.ตระหนี่ลาภ 4.ตระหนี่วรรณะ 5.ตระหนี่ธรรม ซึ่งความตระหนี่ธรรมจัดว่าน่าเกลียดสุด และผู้ที่ยังละความตระหนี่ไม่ได้ย่อมไม่บรรลุ และผู้ที่ละได้ย่อมบรรลุไล่ตั้งแต่ฌาณ1-4 ไปจนถึงทำให้แจ้งในอริยผลทั้ง 4 ขั้น

ข้อ#264-#271 ความตระหนี่อีกนัยหนึ่ง ที่มีความหมายและไส้ในเหมือนกันกับข้อ 254-263 แต่ต่างกันตรงข้อสุดท้ายคือ 5.อกตัญญู อกตเวที

ข้อ#272-#285 คุณสมบัติของภิกษุที่จะมาทำหน้าที่ต่าง ๆ ในอาวาส คือ ไม่ลำเอียงเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลง เพราะกลัว และรู้ระบบของงานนั้นๆเป็นอย่างดี เป็นบัณฑิต บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัดทำลาย ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ และคู่ตรงข้ามคือลำเอียง ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่ในนรก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อุปสัมปทาวรรค สัมมุติเปยยาล

อ่าน “อุปสัมปาเทตัพพสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


Timeline

[03:33] อุปสัมปาเทตัพพสูตร, นิสสยสูตร, สามเณรสูตร
[14:52] ปัญจมัจฉริยสูตร ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ ประการ
[22:12] มัจฉริยปหานสูตร ว่าด้วยการละความตระหนี่
[23:11] ปฐมฌานสูตร, ทุติยฌานสุตตาทิสัตตกะ (ข้อ256-263)
[29:03] อปรปฐมฌานสูตร, อปรทุติยฌานสุตตาทิ อีกนัยหนึ่ง (ข้อ264-271)
[36:04] ภัตตุทเทสกสูตร ว่าด้วยภิกษุภัตตุทเทสกะ
[45:54] เสนาสนปัญญาปกสุตตาทิ เป็นต้น (ข้อ273-285)