ความเลื่อมใสที่เรามีอย่างถูกต้องในคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ แม้จะมีเหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม เราก็ย่อมทำการปฏิบัติของเราให้เจริญ และงดงามได้ เพราะด้วยศรัทธาที่เราตั้งไว้อย่างถูกต้องแล้ว

#ข้อ241-#244 (สูตร 1) เป็นธรรมคู่ตรงข้าม ว่าด้วย โทษของทุจริต ทางกาย วาจา และใจ (อกุศลกรรมบถ 10) มีโทษ คือ 1. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ 2. ผู้รู้ย่อมติเตียน 3. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป 4. หลงลืมสติตาย 5. ตายแล้วไปเกิดในอบาย นรก

#ข้อ245-#248 (สูตร 2) จะมีไส้ในเหมือน(สูตร1) มีความแตกต่างในตอนท้าย คือ 4. เสื่อมจากสัทธรรม 5. ตั้งอยู่ในอสัทธรรม

#ข้อ249 เป็นธรรมที่อุปมาอุปไมยป่าช้ากับคน คือ บุคคลที่ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ 10 ย่อมไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น (ชื่อเสีย) มีภัย (ไม่อยากอยู่ด้วย) เป็นที่อยู่ของอมนุษย์ (คนไม่ดีมาอยู่รวมกัน) เป็นที่คร่ำครวญของคนหมู่มาก (หมดอาลัย)

#ข้อ250 เมื่อความเลื่อมใสเกิดขึ้นกับเฉพาะบุคคลย่อมมีโทษ คือ เมื่อบุคลที่เราเลื่อมใสถูกยกวัตร ถูกสั่งให้นั่งท้าย ย้ายไปที่อื่น ลาสิกขา หรือทำกาละ จึงไม่เลื่อมใส ไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ได้ฟังธรรมเป็นเหตุให้เสื่อมจากพระสัทธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุจจริตวรรค

อ่าน “ปฐมทุจจริตสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


Timeline

[05:56] ปฐมทุจจริตสูตร ว่าด้วยทุจริต สูตรที่ 1
[10:23] ปฐมกาย-วจี-มโนทุจจริตสูตร ว่าด้วยกาย-วจี-มโนทุจริต สูตรที่ 1
[25:38] ทุติย-ทุติยกาย-วจี-มโนทุจจริตสูตร ว่าด้วยทุจริต สูตรที่ 2
[29:18] สีวถิกสูตร ว่าด้วยป่าช้า
[44:10] ปุคคลัปปสาทสูตร ว่าด้วยความเลื่อมใสเฉพาะบุคคล