หมวดว่าด้วยคุณธรรมของผู้ดูแลอาวาสนี้ ไม่ใช่เฉพาะกับเจ้าอาวาสหรือภิกษุสงฆ์เท่านั้น แต่หมายถึงเราทุกคน ถ้ามีคุณธรรมเหล่านี้ย่อมยังอาวาสหรือองค์กรนั้นให้เจริญรุ่งเรือง และงดงามได้

#ข้อ231-#234 เจ้าอาวาสที่มีคุณธรรมดังนี้ ย่อมเป็นที่รัก ที่เคารพยกย่อง มีอุปการะ ยังอาวาสให้งดงาม มาในหัวข้อที่ต่างกัน สรุปรวมลงไส้ในได้ดังนี้ คือ เป็นผู้มีมรรยาทและวัตรงาม มีศีล เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีความประพฤติขัดเกลาดี ยินดีการหลีกเร้น วาจางาม ยังคนให้อาจหาญ ดูแลปฏิสังขรณ์เสนาสนะและอุปการะภิกษุผู้มาจากต่างแคว้นได้ เป็นผู้ได้ฌาน 4 มีปัญญา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตและปัญญาวิมุตติ

#ข้อ235 เจ้าอาวาสที่ประกอบด้วยธรรมต่อไปนี้ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ คือ ให้สมาทานอธิศีลและให้เห็นธรรมได้ สามารถอนุเคราะห์คฤหัสถ์ป่วยไข้และเชิญชวนให้ทำบุญตามกาลสมัยได้ บริโภคของที่เขานำมาถวาย ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป

#ข้อ236-#240 เป็นธรรมคู่ตรงข้าม มีหัวข้อที่เหมือนกันว่าด้วย เจ้าอาวาสที่เหมือนดำรงอยู่ในนรก คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองสรรเสริญคนที่ควรติเตียนหรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ไม่พิจารณาไตร่ตรองปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใสหรือไม่ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส มีความตระหนี่ในอาวาส ตระกูล ในลาภ วรรณะ และทำศรัทธาไทยให้ตกไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาวาสิกวรรค

อ่าน “อาวาสิกสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


Timeline
[04:38] อาวาสิกสูตร ว่าด้วยธรรมของเจ้าอาวาส
[09:50] ปิยสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รัก
[14:08] โสภณสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อาวาสงดงาม
[17:06] พหูปการสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้มีอุปการะมากแก่อาวาส
[19:33] อนุกัมปสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุอนุเคราะห์คฤหัสถ์
[40:14] ปฐมอวัณณารหสูตร ว่าด้วยคนที่ควรติเตียน สูตรที่ 1
[48:43] ทุติย-ตติยอวัณณารหสูตร ว่าด้วยคนที่ควรติเตียน สูตรที่ 2-3
[54:12] ปฐม-ทุติยมัจฉริยสูตร ว่าด้วยความตระหนี่ สูตรที่ 1-2