สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงกำลังตาย หรือตายอยู่ในบัดนี้ด้วย ตายแล้วในอดีตด้วย จะตายในอนาคตด้วย

แม้แต่ตัวเราก็จะต้องตายเหมือนกันอย่างนี้ ความสงสัยในเรื่องการตายนี้ไม่มีแก่เรา

เจริญสังฆานุสสติ เป็นการปฏิบัติบูชา ระลึกถึงสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดำเนินตามๆ กันมาตามทางอันมีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง ปฏิบัติธรรมสืบต่อกันมา ทำให้มีคำสอนของพระพุทธเจ้าสืบต่อมาถึงปัจจุบัน

การปฏิบัติต้องประกอบด้วยสองส่วน คือ สมถะ และวิปัสสนา

1. สมถะ คือ การตั้งจิตมั่นให้สงบ เจริญสังฆานุสสติ จนจิตสงบ เป็นอารมณ์อันเดียว สติเป็นธรรมอันเอกจะทำให้เกิดสัมมาสมาธิได้

2. วิปัสสนา คือ การเห็นตามความเป็นจริง เมื่อจิตสงบ เรามาพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาในสิ่งต่างๆ เห็นเกิด เห็นดับ ตลอดเวลา จนจิตเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด “นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา”

เห็นด้วย สติ สมาธิ ปัญญา ว่า “กายนี้ ตัวเรานี้ก็ตาย ตัวบุคคลก่อนหน้าเรามา ก็ตาย แล้วในอนาคตก็ต้องตายต่อไป มันเป็นธรรมดาอย่างนี้มันจะต้องตายอย่างนี้ ทุกคนตายเหมือนกันหมด”

ให้เรามาตามทางที่จะไปสู่ประสาทแห่งธรรมะ ทางที่พระพุทธเจ้าท่านดำเนินเอาไว้ ตามทางที่พระพุทธเจ้า เหล่าอริยสาวกในสมัยพุทธกาลครูบาอาจารย์ในรุ่นก่อน จนถึงครูบาอาจารย์ที่ร่วมสมัยกันกับเราไปตามทางนี้หมด เข้าสู่บ้านที่จะดับเย็น นั่นคือ นิโรธ พักผ่อนอย่างสบาย สุขกาย สุขใจได้นั่นเอง


Timeline
[00:01] อนิจฺจา วต สงฺขารา พิจารณาผ่านสังฆานุสติ
[05:39] เพราะมีสังโฆปฏิบัติตามทางกันมาคำสอนจึงยังดำรงอยู่
[13:13] นึกถึงสังโฆ นึกถึง สมถะ วิปัสสนา ที่เป็นรากฐานของมรรคส่งมาตามทางจนถึงจดหมาย คือ นิพพาน
[13:49] สมถะ คือ ความสงบ เป็นผลจากที่มีสติแล้วสังเกตุแยกแยะสิ่งที่อยู่ในช่องทางใจได้
[41:36] วิปัสสนา คือ ปัญญาในการเห็นตามความเป็นจริงในความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
[47:49] ดับเย็นไม่ใช่แค่เห็นเกิดดับต้องหน่ายคลายกำหนัด เห็นว่าไม่ควรยึดถือ เห็นได้เมื่อมีสติสมาธิปัญญา
[50:31] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นของปลอม การเข้าไปสงบระงับเสียได้เป็นความดับที่อยู่หลังมรรคอย่างแท้จริง
[57:07] ทิ้งแพเมื่อถึงฝั่ง เดินมาตามทางเดียวกัน