“เพราะ ธรรมชาติที่ย่อมสลาย เหตุนั้นจึงเรียกว่า รูป”

เจริญกายคตาสติ พิจารณาร่างกาย ว่าร่างกายของเรานี้ คือ กองรูป คือ รูปขันธ์ ขันธ์หมายถึง กอง ที่มีแขนขา มีตัวมีหน้า มีอวัยวะภายในต่างๆ มารวมกันเป็นกลุ่มก้อน เขาจึงเรียกว่ารูปขันธ์

และมีส่วนที่เป็น “นาม” คือ เวทนาคือความรู้สึก สัญญา คือ ความหมายรู้ สังขาร คือ การปรุงแต่ง และจุดที่มันเชื่อมกันอยู่ของกายและใจ คือ วิญญาณ คือ การรับรู้ เกิดความเพลิน พอใจ ไปใน รูป สัญญา สังขาร วิญญาณ

“เกิดความเพลินความพอใจเมื่อไหร่ ตรงนั้นแหละ คือ ตัณหา มา อุปาทาน คือ ตัณหามายึดถือ ขันธ์ทั้งห้านี้ ขึ้นเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา ความยึดถือครองนั้น เป็น “กระแสต่อเนื่องกันมา” ในขันธ์ห้านี้ เกิดภพ เกิดชาติ สืบต่อๆ กันมา เกิดเป็นกระแสของการสะสม “จิต คือ สภาวะแห่งการสะสม”

ใช้ปัญญาพิจารณากายเป็นเพียงธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นเพียงธรรมชาติ ย่อมย่อยสลายไป ไม่เที่ยง ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่มีจริง เป็นสภาวะของกระแสที่สืบเนื่องต่อกันมาเท่านั้น ไม่ควรค่าที่จะไปยึดถือ

นาม “เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ” ก็เช่นเดียวกัน เปลี่ยนแปลง เกิด-ดับ อยู่ตลอด ต้องไม่ยึดถือเป็นตัวตน เพราะไม่เที่ยง

แต่ให้เห็น เป็นสภาวะแห่งการสะสม

พิจารณากายของเราอย่างต่อเนื่อง เราก็จะอยู่เหนือ ทั้งนาม ทั้งรูป อยู่เหนือบุญ อยู่เหนือบาป สามารถที่จะดับเย็นได้

นั่นคือ นิพพาน นั่นเอง


Timeline
[00:01] ธรรมชาติย่อมสลายได้ พิจารณาผ่านกายคตาสติ
[12:48] ลักษณะที่แตกออกรวมเข้าปรุงแต่งสำเร็จรูป มีการเกิด มีอายตนะ
[16:52] ถือครองคืออุปาทานไปก้าวลงเป็นความยึดถือ มีความเป็นตัวตนขึ้นมา
[23:40] พิจารณาทั้งสองทาง ทั้งการเกิด และการดับ
[37:20] ถือครองหมายถึงตัณหามาอุปาทานในขันธ์ทั้งห้า ความยึดถือก็เป็นกระแส
[54:19] ตัวเราไม่มีจริงเป็นเพียงสภาวะของกระแส
[55:31] อยู่เหนือบุญเหนือบาป ดับเย็น