Q: เรื่องของสัมผัสทางกาย

A: ระหว่างพระ และสตรี ไม่ควรถูกเนื้อต้องตัวกัน ทั้งกาย และของที่เนื่องด้วยกาย เช่น เส้นผม เสื้อผ้า/ท่านทรงบัญญัติวินัย ไว้ว่า การลูบคลำ เคล้าคลึง อวัยวะ ถ้ามีจิตกำหนัด แปรปรวน รักใคร่ ชอบพอ ถือว่าเป็น “อาบัติสังฆาทิเสส”

Q: การนั่งอยู่ในที่เดียวกัน

A: พระ และสตรี ไม่ควรนั่งหรือนอน ในที่เดียวกัน ไม่ว่าที่แห่งนั้นจะมีสตรีอยู่หลายคนก็ตาม หากมีพระอยู่รูปเดียว โดยไม่มีชายที่รู้เดียงสา หรือมีพระอื่นอยู่ด้วย ถือว่าอาบัติปาจิตตีย์ แต่ถ้าหากพระ หรือสตรียืนอยู่ ไม่ถือเป็นอาบัติข้อนี้

Q: การเดินทางด้วยกัน

A: พระกับสตรี ห้ามเดินทางด้วยกันลำพัง ต้องมีผู้ชาย หรือพระรูปอื่นไปด้วย ยกเว้นเฉพาะเรื่องเรือข้ามฟาก

Q: การถ่ายรูปคู่กัน

A: ควรให้มีคนอื่นหรือมีกลุ่มคนอยู่ด้วย ซึ่งการถ่ายรูปไม่ผิดธรรมวินัย

Q: การอยู่สถานที่เดียวกัน

A: ที่สาธารณะ/ที่ลับหู คือ มองเห็นแต่ไม่รู้ว่าพูดคุยอะไรกัน ต้องระมัดระวังเรื่องการพูดที่ไม่เหมาะสม เช่น การพูดพาดพิงเมถุน พูดให้มีจิตกำหนัด พูดชักสื่อ พูดเกี้ยว/ที่ลับตา คือ มองไม่เห็น อาจมีการถูกเนื้อต้องตัวกัน ควรระวังการโจทย์/ไม่ไปมาหาสู่เป็นประจำ กับหญิง 3 ประเภท คือ หญิงหม้าย หญิงเทื้อ หญิงโสเภณี ไม่ว่าไปสถานที่ไหน ควรมีชายผู้รู้เดียงสา หรือพระสงฆ์อยู่ด้วย

Q: การพูดการฟังที่ปรารภเรื่องที่เหมาะสม และไม่เหมาะสม และสถานที่พูด

A: ไม่พูดคำพูดที่ทำให้มีจิตกำหนัด ไม่พูดคำพูดในลักษณะที่ชักสื่อให้ชาย หญิง เป็นสามีภรรยาหรืออยู่ร่วมกัน ไม่ควรไปมาหาสู่กับ หญิงหม้าย หญิงเทื้อ หญิงโสเภณีเป็นประจำ เพราะจำถูกติเตียนได้ ไม่พูดกระซิบข้างหู

Q: การแสดงธรรมแก่มาตุคาม

A: ห้ามแสดงธรรมกับผู้หญิงเกิน 5-6 คำ (หมายถึงพระบาลี) แต่ถ้าแสดงเพื่ออธิบายธรรม ไม่ได้มีสิกขาบทห้ามไว้ หากแสดงธรรมที่มากกว่านี้ต้องมีชายรู้เดียงสา หรือคนอื่นอยู่ด้วย

Q: การพูดจาชักสื่อ

A: ห้ามพระเป็นพ่อสื่อแม่ชัก ให้ชายหญิงแต่งงาน หรืออยู่ร่วมกัน รวมถึงการบอกฤกษ์ยามแต่งงาน หรือยุให้แตกกัน

Q: การแต่งกาย

A: ให้ระมัดระวังการแต่งกาย แต่งกายให้สุภาพ ไม่วาบหวิว