อุปาทานขันธ์ 5 ไม่ใช่ มานะ แต่เพราะยึดถือในขันธ์ 5 จึงทำให้เกิด “มานะ” ได้

Q: ธรรมะ 5 ข้อ ที่เมื่อผู้ฟังอยู่สามารถที่จะหยั่งลงสู่ความเห็นที่ถูกต้องได้ จำเป็นต้องมีครบทั้ง 5 ข้อหรือไม่?

A: ธรรมะ 5 ข้อ (1. ไม่วิพากษ์วิจารณ์คำพูด 2. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด 3. ไม่วิพากษ์วิจารณ์ตน 4. เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน คือมีจิตแน่วแน่ 5. ฟังธรรม มนสิการโดยแยบคาย) ถ้าสามารถปฏิบัติได้ทั้ง 5 ข้อ จะดีที่สุด

Q: ความหมายของคำว่า อีโก้สูง เจ้ายศเจ้าอย่าง อัตตาตัวตนสูง และอุปทานขันธ์ 5 คำเหล่านี้มีความหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

A: คำว่า อีโก้สูง เจ้ายศเจ้าอย่าง อัตตาตัวตนสูงในทางคำสอน หมายถึง ความมี “มานะ” คือ ความรู้สึกเป็นตัวตน “อุปาทาน” หมายถึง ความยึดถือ (ยึดถือในขันธ์ 5) “ขันธ์ 5” หมายถึง กองของทุกข์ แบ่งได้ 5 กอง (ขันธ์) คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ/อุปทาน ตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ พอเราไปยึดในอุปาทานขันธ์ 5 จึงมีความเป็นตัวตนขึ้นมา มีมานะขึ้นมา เพราะมี อุปาทาน จึงมี ภพ (ความเป็นสภาวะ ความมีตัวตน) เพราะมี “ภพ” จึงมี การเกิด (การก้าวลง) เมื่อก้าวลง หมายถึง จิตดิ่งปักลงไปในสิ่งนั้นว่า “สิ่งนี้มีในตน ตนมีในสิ่งนั้น สิ่งนั้นเป็นตน ตนเป็นสิ่งนั้น”

Q: ถ้าเรามีอุปาทานความยึดถือ ควรแก้ไขตนเองอย่างไร?

A: ปฎิบัติตามมรรค 8 ถ้าเรามีศีล สมาธิ ปัญญา เราจะไม่เพลิน ไม่พอใจ เมื่อไม่เพลิน ไม่พอใจ ความยึดถือก็จะไม่เกิด เมื่อเกิดไม่ได้ ความยึดถือก็ดับไป ความเป็นตัวตน มานะก็ดับไปๆ

Q: วิธีละสักกายทิฏฐิ อัตตาตัวตน?

A: ให้มี “สัมมาทิฐิ” มีปัญญาที่จะเข้าใจ ว่ามันไม่ใช่ อัตตาตัวตนของเรา เห็นว่าสิ่งต่างๆ ไม่เที่ยง ไม่เป็นของเฉพาะตน คือ เป็นอนัตตา ให้ตั้งสติไว้ตรงรอยต่อ ระหว่างกายใจ คือ ผัสสะ เราจะควบคุมสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ ก็ต้องตั้งสติไว้ตรงนั้น ถ้าเราควบคุมได้ รักษาไว้ได้ด้วยสติ จะทำให้เราเข้าใจถูกว่าเราไม่มีตัวตน ถ้าเรารักษาผัสสะได้ ความรู้สึกที่เป็นตัวตน จะลดลง จะละสักกายทิฎฐิได้


Timeline
[09:03] ธรรมะ 5 ข้อ ที่เมื่อผู้ฟังอยู่สามารถที่จะหยั่งลงสู่ความเห็นที่ถูกต้องได้ จำเป็นต้องมีครบทั้ง 5 ข้อหรือไม่?
[15:10] ความหมายของคำว่า อีโก้สูง, เจ้ายศเจ้าอย่าง, อัตตาตัวตนสูงและอุปทานขันธ์ 5 คำเหล่านี้มีความหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
[43:34] ถ้าเรามีอุปาทานความยึดถือ ควรแก้ไขตนเองอย่างไร?
[44:52] วิธีละสักกายทิฏฐิอัตตาตัวตน