เมื่อเจอสิ่งที่ไม่น่าพอใจ พลัดพรากจากสิ่งที่พอใจนั้น เราจะต้องทำอะไรที่ไม่สุดโต่งไปทั้งสองทาง แต่ได้ประโยชน์ทั้งตนเอง ทั้งผู้อื่น และทั้งสองฝ่าย นั่นคือ ไปตามทางสายกลาง ‘มัชฌิมาปฏิปทา’ มีการพิจารณาใคร่ครวญ เพื่อให้เกิดปัญญา เพราะปัญญา คือ สัมมาทิฏฐินั้นจะเป็นองค์นำหน้าของมรรคแปด 

ในที่นี้ใช้ 3 นัยยะ คือ 1. ฐานะที่เป็นธรรมดาที่ใครๆ ในโลกไม่พึงได้ คือ ขออย่าให้แก่ เจ็บไข้ ตาย สิ้นไป และฉิบหายไป 2. อนมตัคคปริยาย คือ น้ำตาไม่มีที่สิ้นสุดที่มาจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักตลอดกาลยืดยาวนานของสังสารวัฏ และ 3. กล้าที่จะเผชิญหน้าความจริงว่า “มันก็เป็นแบบนี้แหละ” ในเมื่อธรรมชาติเป็นแบบนี้ แล้วจะไปยึดถือเพื่ออะไร ถ้าอย่างนั้นสิ่งที่เป็นการงานต้องทำ ก็ทำไป ปัญญามันเกิดตรงนี้

พิจารณาอยู่เนืองๆ ทำอยู่เป็นประจำ จะทำให้สติมีกำลังเพิ่มขึ้นๆ เราจะมีอาวุธคือปัญญา ที่เราจะอยู่ผาสุกได้ แม้เจอผัสสะที่ไม่น่าพอใจ แม้ในการที่จะพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่น่าพอใจได้


อ่าน “ฐานสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

อ่าน “เรื่องนางปฏาจารา [๙๒]” อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สหัสสวรรคที่ ๘


Timeline
[04:51] ช่วงไต่ตามทาง | พระเจ้าปเสนทิโกศลสูญเสียพระนางมัลลิกาผู้เป็นที่รัก
[14:48] เทวตาภาษิตเรื่อง ให้ทานด้วยจิตเลื่อมใสพระสะมพุทธะมีผลมาก
[16:47] ปรับตัวแปร แก้สมการ | ทำอย่างไรเมื่อเกิดการสูญเสีย
[19:00] การบูชาด้วยอามิส
[29:09] โยนิโสมนสิการ
[46:14] ทำอย่างไรให้อยู่ผาสุกได้ เมื่อภัยต่างๆ มาถึง