Q: ได้ฟังสวดอภิธรรม เมื่อตายแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์หรือไม่?

A: ขึ้นอยู่กับการรักษาจิต ว่าเราระลึกถึงความดีของเราได้หรือไม่

Q: เมื่อข้อปฏิบัติละเอียดขึ้น กิเลสละเอียด ที่ซ่อนอยู่ในจิตใจก็จะแสดงออกมา เข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่?

A: เมื่อข้อปฏิบัติของเราละเอียดลงๆ กิเลสก็ละเอียดลงๆ จะค่อยๆ แสดงออกมา ตามการปฏิบัติที่ละเอียดลงๆ

Q: กฎไตรลักษณ์เรื่องของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใช้กับสิ่งที่เป็นธรรมชาติเท่านั้น หรือรวมถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วย?

A: สิ่งที่ใช้กฎไตรลักษณ์ เป็นการแบ่งคือ 1. สังขตธรรม คือ สิ่งที่ปรุงแต่งได้ ทั้งที่มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครอง 2. อสังขตธรรม คือ ไม่มีการปรุงแต่งเปลี่ยนแปลง (นิพพาน)

Q: การภาวนาที่เป็นแบบฉบับตนไม่เหมือนคนอื่น จัดเป็นอนุสติเฉพาะตนตามแนวธรรมะของพระพุทธองค์หรือไม่?

A: ให้เรากลับมาเทียบเคียงคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะครูบาอาจารย์ที่ท่านสอน ท่านชำนาญวิธีไหน ท่านก็บอกสอนตามวิธีทีท่านรู้ เราก็นำมาเทียบเคียงกับคำสอนพระพุทธเจ้าดู ว่าใกล้เคียงกัน ลงกันได้ตรงไหน สิ่งที่ท่านตรัสรู้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่ว่าใครจะสอนเรื่องอะไร ก็จะจัดเข้าอยู่ใน 4 อย่างนี้ / การที่เราบริกรรม เราไม่ได้เอาที่คำบริกรรมแต่เราจะเอาสติ โดยเราใช้คำบริกรรมเป็นเครื่องมือ “นิพพาน มีทางปฏิบัติเข้ามาได้โดยรอบ” ไม่ได้มีทางเดียว อยู่ที่ว่าเราปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไหม ซึ่งท่านได้สอนไว้มาก คือ อย่าสับสน ให้เอาสักทางหนึ่ง

Q: เรามีชีวิตเพื่ออะไร?

A: เราลองปรับมุมมอง เปลี่ยนคำถาม “ทำไมจึงเกิด?” เพราะอะไรมี ความเกิดจึงมี วิธีคิดแบบนี้จะทำให้เกิดปัญญา หาวิธีพ้นทุกข์ แล้วเราจะพ้นทุกข์ได้อย่างไร ก็ให้ปฏิบัติตามมรรค 8 เมื่อเราเข้าใจทุกข์ด้วยปัญญาแล้ว เราจะพ้นทุกข์ได้