Q: เพื่อนที่ทำงานซื้อของมาให้ พอเรารับไว้เราก็ไม่สบายใจ ไม่รับก็กลัวจะน้อยใจ เราควรตั้งจิตอย่างไร?

A: เราสามารถรับไว้ แล้วซื้อของกลับให้เพื่อผูกมิตร ทั้งนี้ ควรตรวจสอบสภาวะจิตเราด้วยว่า ซื้อของให้เค้าแล้ว เราไม่อยากซื้อให้กลับหรือเปล่า/แนะนำเรื่องการแบ่งจ่ายทรัพย์/หากเค้ามีศรัทธากับเรา เราก็ดูว่าเราจะทำตัวเป็นเนื้อนาบุญได้ไหม/แนะนำเปลี่ยนจากการซื้อของให้เป็นการหยอดกระปุก เพื่อร่วมทำบุญด้วยกัน หรือนำไปใช้เป็นสวัสดิการในที่ทำงานร่วมกัน

Q: คุณสมบัติของเนื้อนาบุญเปรียบกับช้างทรงของพระราชา

A: อดทน ต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องเป็นช้างที่ รู้ประหาร (กำจัดสิ่งที่เป็นอกุศล) รู้รักษา (สำรวมอินทรีย์) รู้ไป (ไปทางนิพพาน) รู้ฟัง (ฟังธรรมะ) รู้อดทน (อดทนต่อเวทนา คำด่า คำว่า)

Q: ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ อุเบกขา วิมุต ต่างกันอย่างไร?

A: ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ มาจากศัพท์คำว่า “อทุกขมสุข” คือ ถ้ามีผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์ มากระทบ ก็จะมีความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์ (อทุกขมสุข) เกิดขึ้น อุเบกขา คือ ความวางเฉย เป็นหนึ่งในสติปัฏฐานสี่ เป็นหนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม วิมุตติ คือ พ้น (เจริญสติปัฏฐานสี่มาก ทำให้มากแล้ว เราจะมีองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม คือ “โพชฌงค์” พอมี โพชฌงค์แล้ว อาศัย วิเวก วิราคะ นิโรธ น้อมไปด้วยความสลัดคืน วิชา และวิมุตติ จะเกิดขึ้น)

Q: อุเบกขาต่างจากวิมุตติอย่างไร?

A: ความต่าง คือ อุเบกขา ละเอียดกว่า อทุกขมสุข, อุเบกขา เป็นหนึ่งใน สติปัฏฐานสี่ หนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ความเหมือน คือ เป็นเวทนาเหมือนกัน มีความเพลินเหมือนกัน มีสติอยู่ด้วยเหมือนกัน

Q: นั่งสมาธิแล้วรู้สึกเหมือนมีหนอนไต่ตามร่างกาย อาการนี้คืออะไร แก้ไขอย่างไร

A: พิจารณา กรณีที่ 1) เป็นนิมิตว่า เราเห็นความเป็นปฏิกูลในกายนี้ คือ ไม่น่ายินดี ให้รักษาสติ เห็นตามจริง อย่าตกใจ หากตกใจ ให้ตั้งสติขึ้นใหม่ ให้มีกำลัง เห็นไปตามจริง กล้าเผชิญหน้า ว่ากายเราเป็นแบบนี้ นี่คือมาถูกทาง กรณีที่ 2) หากเราพึ่งเริ่มต้นปฏิบัติ แค่รู้สึกคันตามตัว อาการนี้คือ ลักษณะอาการปรุงแต่งทางกาย เป็นเครื่องทดสอบ เราต้องตั้งสติสัมปชัญญะไว้ให้ดี รู้เฉยๆ แต่ไม่ตาม พอสอบผ่านแล้วจะไม่คันอีก

Q: การนั่งสมาธิทดแทนการหลับได้หรือไม่?

A: ในการนอน 4 ประเภท หนึ่งในนั้น เรียกว่า การนอนอย่างตถาคต คือ ตื่นอยู่ในสมาธิ (คนนอนแบบตื่น คือ ชาคริยานุโยค) ไม่ง่วง ไม่หลับ จิตสว่างอยู่ ร่างกายได้รับการพักผ่อนอยู่ในสมาธิ ส่วนคนที่นอนไม่หลับ คือ ง่วง เหนื่อย เพลีย แต่นอนไม่หลับ

Q: การทำสมาธิใกล้คนนอน มีผลกับคนนอนหรือไม่?

A: หากเป็นการขยับร่างกาย ก็อาจมีผลต่อคนที่นอนใกล้ได้ หากเราทำสมาธิแล้วเราแผ่เมตตา ผลที่ได้ไม่ใช่แค่คนใกล้ คนไกล ก็ได้ประโยชน์ ได้ทั้งข้ามภพ ข้ามชาติด้วย