Q: การศึกษาพุทธศาสนามีด้านเดียวหรือสองด้าน?

A: พิจารณาได้ทั้ง 2 อย่าง นัยยะของ 2 ด้าน อาจหมายถึง พิจารณาด้านประโยชน์และโทษ ว่าด้านไหนมาก ด้านไหนน้อย นัยยะของด้านเดียว อาจหมายถึง ทางสายกลาง (มรรค 8) 

Q: สมาธิเสื่อมได้หรือไม่ เกิดจากเหตุปัจจัยใด?

A: สิ่งใดที่เจริญได้ ก็เสื่อมได้ บางทีอาจเสื่อมจากสมาธิเพราะกายเมื่อยล้า คลุกคลีมาก ทำให้เจริญได้ คือ ไม่ยินดีในการเอนกาย รู้จักหลีกเร้น การปฏิบัติตามมรรค 8 จะช่วยปรับให้ไปตามทางได้ รู้จักเอาประโยชน์ หลีกออกจากโทษ

Q: ขณะนั่งสมาธิ รู้สึก​เคลิ้ม​จนลืมคำภาวนา ​ลืมลมหายใจ เรียกว่าขาดสติหรือไม่?

A: ขาดสติ คือ เพลินในสมาธิ ยึดถือในสมาธิ มีสมาธิแต่เผลอสติ การระงับลง ไม่ถือว่าเป็นการขาดสติ เพราะยังมีสติสัมปชัญญะ รู้ว่าระงับลง ให้เราฝึกตั้งสติสัมปชัญญะขึ้น เห็นความเกิดขึ้น เห็นความดับไป ฝึกให้ชำนาญในการเข้า การดำรงอยู่ และการออก ทำบ่อยๆ เราจะรู้ตัวทั่วพร้อม รู้พร้อมเฉพาะ ในการที่ความคิดนั้นดับไป 

Q: ขณะบริกรรมพุทโธ ครูอาจารย์​ก็เทศน์สอนด้วย เราควรเอาสติไปจับอยู่กับอะไร?

A: ตั้งสติอยู่กับโสตวิญญาณ (การรับรู้ทางหูด้วยเสียง เกิดในช่องทางใจ)

Q: นั่งสมาธิแล้วฟุ้งซ่าน เบื่อท้อไม่อยากนั่งต่อ ควรแก้ไขอย่างไร?

A: ให้พิจารณา เอาจิตจดจ่อตรงที่เราทำได้ จิตก็จะน้อมไปทางนั้น จิตเราน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง หากเราตริตรึกแต่ตรงที่ฟุ้งซ่าน ท้อแท้ จิตเราจะไปในทางอกุศล

Q: ผู้ปฏิบัติดี มีสมาธิมั่นคง เมื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์ หลุดพ้นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติต่อไปอีก?

A: ท่านยังต้องปฏิบัติอยู่ ยังมีศีล สมาธิ ปัญญาอยู่ แต่เหตุผลในการปฏิบัติ ไม่เหมือนเดิม คือ เหตุที่จะต้องทำเพื่อหลุดพ้น ไม่ต้องแล้ว เพราะหลุดพ้นแล้ว สำเร็จแล้ว