00:00
1X
Sorry, no results.
Please try another keyword
- Q: อุปกิเลส16 มีปฏิสัมพันธ์อย่างไรกับทาน ศีล ภาวนา A: ปกติจะแบ่งเป็นส่วนดี และส่วนไม่ดี ส่วนดี คือ นิโรธกับมรรค ส่วนไม่ดี คือ ทุกข์กับสมุทัย อุปกิเลสอยู่ในส่วนไม่ดี แปรผกผันกับส่วนดี คือ ทานศีลภาวนา อุปกิเลสมีความหยาบละเอียดในแต่ละข้อไม่เท่ากัน แบ่งตามระบบของมรรค มรรคขั้นหยาบใช้ปรับอุปกิเลสหยาบ มรรคละเอียดปรับอุปกิเลสขั้นละเอียด เหมือนกระบวนการการได้มาซึ่งทอง ต้องใช้เครื่องมือให้เหมาะสม ปฏิบัติไปตามลำดับขั้น ทานศีลภาวนา หรือศีลสมาธิปัญญา หรืออริยมรรคมีองค์8 ที่ต้องทำไปตามลำดับผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทำได้แล้วรักษาให้ดี ถ้าประมาทจะตกต่ำได้ เพราะธรรมชาติของจิตย่อมน้อมไปตามสภาวะแวดล้อมได้ รักษา 2 ทาง 4 ด้านให้ดีให้น้อมไปทางดี ฝึกจากหยาบไปละเอียดจะทำได้ง่ายขึ้น Q: ประพฤติแต่อุปกิเลสจะบรรลุธรรมได้หรือไม่ A: เหตุเงื่อนไขปัจจัยมีอยู่ จะสร้างบ้านได้ก็ต้องเริ่มที่ฐาน จะเห็นธรรมได้ก็ต้องมีทานศีลภาวนา จะบรรลุนิพพานได้ก็ต้องกำจัดอุปกิเลส16 Q: ท้อแท้เพราะปฏิบัติไม่ก้าวหน้าควรทำอย่างไร A: ความก้าวหน้าหรือไม่ อยู่ที่เงื่อนไขปัจจัย พละ5 มีหรือไม่ ความเพียรทำตรงไหนก็สำเร็จอยู่ตรงนั้น ส่วนสมาธิอาจจะยังไม่ออกผลตามที่คุณอยาก ความอยากทำให้ท้อแท้[...]