“อาสวะใหม่ไม่เกิด ของเก่าก็ติดต่อไปไม่ได้ ก็ดับลง” 

สาปุคิยาสูตร: ท่านพระอานนท์อธิบายถึงองค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ 4 ประการ เพื่อก้าวล่วงความโศก ความคร่ำครวญ เพื่อดับทุกข์กายใจ และบรรลุญายธรรม นั่นคือ องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ของศีล (เริ่มจากศรัทธา) ของจิต (ฌาน 4) ของทิฏฐิ (อริยสัจ) และของวิมุต ใน 3 ข้อแรก คุณต้องใส่ความเพียร ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ไม่ท้อถอย สติสัมปชัญญะ คือเดินหน้าลูกเดียว แล้วพอถึงข้อวิมุติ คือ การนำความเพียรทั้งหมดในสามข้อแรกมารวมกัน ทำให้มากแล้วจิตจะเปลื้องจากธรรมที่ยังข้องอยู่ได้ ซึ่งก็คือ เดินมาตามศีล สมาธิ ปัญญา หรือวิสุทธิ 7 นั่นเอง 

วัปปสูตร: สาวกนิครนถ์มีความเชื่อว่า ถ้าบาปยังไม่หมดไปจะพ้นทุกข์ไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงปรับทิฏฐิว่า การสำรวมกาย วาจา ใจ จะไม่ก่อให้เกิดอาสวะใหม่ ของเก่าที่มีก็จะไปต่อไม่ได้ และการสำรอกอวิชชาออกไป อาสวะใหม่ที่จะก่อให้เกิดทุกข์ก็ไม่มี ดับไป กิเลสสิ้นไป เหมือนตาลยอดด้วนเหมือนต้นไม้ที่ถูกขุดกระทั่งราก เผาเป็นจุล เงาจะไม่ปรากฎ  

สาฬหสูตร: นิครนถ์เชื่อว่า คนจะพ้นทุกข์ได้ก็ด้วยศีลหมดจด และด้วยการทำทุกรกิริยา แต่พระพุทธเจ้าทรงให้ดูทั้งข้างนอกข้างใน ศีลบริสุทธิ์พร้อมทั้งกายวาจาใจ และสัมมาอาชีวะต้องบริสุทธิ์ เพื่อก่อให้เกิดญาณทัสสนะ 4 เปรียบเหมือนการขุดต้นไม้เพื่อทำเรือ ต้องขุดถากทั้งด้านนอกด้านใน จึงจะพาข้ามฝั่งได้  ดั่งนักรบอาชีพที่ควรยิงได้ไกล (เห็นความไม่เที่ยงในขันธ์ 5) ยิงได้เร็วแม่น (รู้อริยสัจ 4) และทำลายกายกองใหญ่ได้ (ทำลายอวิชชา) 

มัลลิกาเทวีสูตร: เหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดให้เกิดมางาม หรือไม่งาม จนหรือมั่งมี นำมาจับคู่กัน พระนางมัลลิกามองเห็นถึงสิ่งที่เคยทำทั้งที่ดีและไม่ดี จนก่อให้เกิดสภาพในภพนี้ ในสิ่งที่ไม่ดีพึงละเว้นต่อไป 

(จตุกกนิบาต: มหาวรรค ข้อที่ 194 – 197)

อ่าน “มหาวรรค” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

Timeline
[05:15] สาปุคิยาสูตร ว่าด้วยโกฬิยบุตรชาวสาปุคิยนิคม
[18:33] วัปปสูตร ว่าด้วยศากยะพระนามว่าวัปปะ
[39:54] สาฬหสูตร ว่าด้วยเจ้าลิจฉวีพระนามว่าสาฬหะ
[48:11] มัลลิกาเทวีสูตร ว่าด้วยพระนางมัลลิกาเทวี