“สัตว์ผู้จะกล่าวอ้างว่า ตนเองไม่มีโรคทางใจตลอดระยะเวลาแม้ครู่เดียว หาได้โดยยาก ยกเว้นท่านผู้หมดกิเลสแล้ว” 

วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่มีองค์ประกอบครบ คือ พุทธะ ธัมมะ สังฆะ นี่คือ การนำเสนอความรู้ใหม่ คือ ทางสายกลาง ทางที่จะนำไปสู่นิพพาน เริ่มจากทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ความรู้ในอริยสัจ 4 สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ แล้วต่อด้วยอนัตตลักขณสูตรให้เห็นถึงความไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาของขันธ์ทั้ง 5 

ย้อนกลับไปที่ข้อ 125 – 126 ปฐมเมตตาสูตร คือ กำลังฌานของพรหมวิหาร 4 ทำให้มีอายุ และชั้นพรหมที่แตกต่างกันเรียงไป ในชั้นนี้ปุถุชนและอริยบุคคลอาจอยู่ปะปนกันได้ แต่ที่ไปจะแตกต่างกัน ส่วนในทุติยเมตตาสูตรบุคคลที่พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงด้วยจิตแบบพรหมวิหารเมื่อตายไปย่อมเป็นอนาคามีในชั้นสุทธาวาส  

กัปปสูตร ความยาวนานของอสงไขย 4 ประเภท ทำให้เห็นถึงความทุกข์ที่เราได้พบมาตลอดกาลอันยาวนาน ไม่ควรกลับไปวนในความทุกข์อีก 

โรคสูตร โรคทางกายอาจไม่ป่วยเลยมีอยู่ แต่คนธรรมดาที่จะไม่ป่วยใจย่อมไม่มีแม้ในขณะจิตเดียว ดั่งโรคของนักบวช โรคนั้น คือ กิเลส ปริหานิสูตร ธรรมที่เป็นเหตุเสื่อม คือ มีราคะ โทสะ โมหะมาก และไม่มีปัญญาจักษุในเรื่องควรไม่ควร 

อ่าน “อินทริยวรรค หมวดว่าด้วยอินทรีย์” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “ปฐมเมตตาสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “ทุติยเมตตาสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

Timeline
[01:18] อาสาฬหบูชากับอริยสัจ 4
[21:03] ปฐม/ทุติยเมตตสูตร (125 – 126)
[29:15] กัปปสูตร ว่าด้วยกัป
[45:28] โรคสูตร ว่าด้วยโรค
[54:41] ปริหานิสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุเสื่อม