ฉวาลาตสูตร ราควินยสูตร ขิปปนิสันติสูตร อัตตหิตสูตร และสิกขาปทสูตรมีหัวข้อเหมือนกัน แต่ต่างกันใน 5 นัยยะ เหมือนกันตรงที่แบ่งบุคคลตามการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ เพื่อตนเองหรือเพื่อผู้อื่นมาจับคู่กัน ความประณีตไล่ไปตามลำดับ นัยยะที่ 1 ฉวาลาตสูตรเปรียบบุคคลที่ไม่ปฏิบัติเพื่อใครเลย เป็นเหมือนไม้ที่ตรงกลางเปื้อนอุจจาระ ปลายทั้งสองข้างลุกเป็นไฟหาค่าไม่ได้ ในขณะที่บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อตนเองและผู้อื่น ดุจดั่งรสที่ได้จากวัวนม จนได้ยอดเนยใสในที่สุด นัยยะที่ 2 ราควินยสูตรมีตัวแปร คือ ราคะ โทสะ โมหะ จะเห็นว่าแม้คนที่มือถือสากปากถือศีล ก็ยังนับว่าเป็นคนดี เพราะอย่างน้อยก็พูดดี แม้จะทำเองยังไม่ได้ก็ตาม เขาสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ นัยยะที่ 3 ขิปปนิสันติสูตร แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ตรัสรู้นี้เพื่อตัวเอง และบอกสอนนี้เพื่อผู้อื่น เป็นการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นัยยะที่ 4 อัตตหิตสูตรมีแต่หัวข้อ นัยยะที่ 5 สิกขาปทสูตรเอาศีล 5 มาเป็นตัวแปร ซึ่งจะเป็นคนละมุมกับราควินยสูตร ในโปตลิยสูตรบุคคลที่ติเตียน หรือสรรเสริญตามกาลอันควรจึงจะประเสริฐสุด ไม่ใช่บุคคลที่อุเบกขาไปซะหมด จบอสุรวรรค
เริ่มวลาหกวรรค ปฐมวลาหกสูตรเปรียบเมฆ คือ การพูดฝน คือ ลงมือทำ ทุติยวลาหกสูตรเปรียบเทียบคนที่เรียนอริยสัจ 4 เรียน คือ ฟ้าร้อง ไม่เรียน คือ ไม่ร้อง ฝนตก คือ รู้ชัดในอริยสัจ 4 อย่างน้อย คือโสดาบัน ฝนไม่ตก คือ ไม่รู้ ในกุมภสูตร อุทกรหทสูตร และอัมพสูตร มีหัวข้อต่างกันแต่ไส้ในเหมือนกัน เป็นการรู้อริยสัจ 4 ภายในกับลักษณะภายนอกที่เห็น อาจเป็นดุจหม้อเปล่าหรือเต็ม และเปิดหรือปิดฝา หรือดุจความตื้นลึกของห้วงน้ำเงาที่เห็นกับความจริง และการสุกหรือดิบของมะม่วง
อ่าน “ฉวาลาตสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “ราควินยสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “ขิปปนิสันติสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “อัตตหิตสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “สิกขาปทสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “โปตลิยสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “ปฐมวลาหกสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “ทุติยวลาหกสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “กุมภสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “อุทกรหทสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อ่าน “อัมพสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
Timeline
[03:51] แก้ไขข้อที่ 76 กุสินารสูตร
[09:48] ฉวาลาตสูตร ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนท่อนไม้ที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า
[18:50] ราควินยสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ
[23:34] ขิปปนิสันติสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้รู้ได้เร็ว
[28:39] อัตตหิตสูตร ว่าด้วยบุคคลปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง และสิกขาปหสูตร ว่าด้วยสิกขาบทเป็นเหตุให้เกื้อกูล และไม่เกื้อกูล
[32:23] โปตลิยสูตร ว่าด้วยปริพาชกชื่อโปตลิยะ
[40:19] วลาหกวรรคหมวดว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนเมฆ: ปฐมวลาหกสูตร
[45:03] ทุติยวลาหกสูตร ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนเมฆ สูตรที่ 2
[47:53] กุมภสูตร ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนหม้อ
[51:55] อุทกรหทสูตร ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ
[54:47] อัมพสูตร ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง