ปุตตสูตร สังโยชนสูตร สัมมาทิฏฐิสูตรและขันธสูตร เป็นการแบ่งบุคคล 4 จำพวกที่ปรากฏอยู่ในโลก มีหัวข้อเหมือนกันแต่มี 5 นัยยะต่างกัน ในสังโยชนสูตรแบ่งตามสังโยชน์ที่ละได้ ไล่ไปตามอริยบุคคลแต่ละขั้น ส่วนที่เหลือเป็นพระอรหันต์ตั้งแต่ข้อที่ 2 ต่างกันตรงที่ได้วิโมกข์ 8 หรือไม่ ที่น่าสนใจ คือ สมณะผู้ละเอียดอ่อนกว่าในหมู่สมณะ ซึ่งหมายถึงพระพุทธเจ้านั่นเอง ละเอียดอ่อนในด้านปัจจัย 4 มีสุขภาพดี ได้ฌาน 4 และเป็นอรหันต์ จบมจลวรรค 

เริ่มอสุรวรรค อสุรสูตรเป็นการจับคู่ระหว่างเจ้านายลูกน้อง ที่มีความเป็นอสูร หรือเทวดา ที่น่าสนใจ คือ ไม่ว่าเราเป็นอะไร เราสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ในปฐม/ทุติยและตติยสมาธิสูตร คือ การมีหรือไม่มีของสมถะ และวิปัสสนา ประเด็น คือ เอาที่ได้ก่อนแล้วค่อยพัฒนาเพิ่มเติมในส่วนที่ขาด โดยการเข้าไปหาผู้ที่มีในส่วนนั้น ถ้าขาดปัญญาให้เข้าไปถามคำถาม 3 ข้อ ถ้าขาดสมถะให้ถามคำถาม 4 ข้อ ถ้าขาดทั้งสมถะวิปัสสนา ให้รีบเร่งความเพียรดุจไฟไหม้บนศรีษะ แต่ถ้ามีครบทั้งสองอย่าง ก็ให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมนี้ต่อไป ในลักษณะที่จะกำจัดอาสวะได้ สมถะวิปัสสนาต้องปรับให้เข้ากันเหมือนการสนเข็ม มือหนึ่งนิ่งมือหนึ่งเคลื่อน จึงจะสำเร็จได้

อ่าน “ปุตตสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “สังโยชนสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “สัมมาทิฏฐิสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “ขันธสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “อสุรสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “ปฐมสมาธิสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “ทุติยสมาธิสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “ตติยสมาธิสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

Timeline
[04:01] ปุตตสูตร สังโยชนสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร และขันธสูตร
[06:04] นัยยะของสมณะผู้ไม่หวั่นไหว
[12:09] นัยยะของดอกบัวปุณฑริก
[15:35] นัยยะของดอกบัวอุบล
[16:17] นัยยะของสมณะผู้ละเอียดอ่อนกว่าสมณะทั้งหลาย
[20:48] อสุรวรรค อสุรสูตร ว่าด้วยบุคคลเหมือนอสูร และเทวดา
[31:09] ปฐมสมาธิสูตร ทุติยสมาธิสูตร ตติยสมาธิสูตร