กุหสูตรเกี่ยวกับภิกษุที่มีคุณสมบัติ 4 อย่างเหล่านี้นับว่าห่างไกลจากธรรมวินัยนี้ ไม่มีความเจริญงอกงาม คือ ชอบหลอกลวง กระด้าง ประจบ ชอบวางท่าอวดดี มีจิตไม่ตั้งมั่น ในสันตุฏฐิสูตรว่าด้วยความสันโดษในปัจจัย 4 คือ มีค่าน้อย หาได้ง่าย ไม่มีโทษ เมื่อทำประจำนับว่าเป็นธุดงควัตร สามารถไปไหนก็ได้เหมือนนกมีปีก ความเป็นอยู่แบบนี้สบายเหมาะแก่ความเป็นสมณะ สันโดษ คือ พอใจตามมีตามได้แต่ไม่ใช่ขี้เกียจ สันโดษป้องกันจิตไม่ให้ติดกับดักของความอยาก ให้ตั้งไว้ในอิทธิบาท 4 สามารถมีเป้าหมายได้ ส่วนมักน้อยหมายความว่าไม่ต้องการให้คนอื่นรู้ว่าเรามีดีอะไร ในอริยวังสสูตรเอาปัจจัย 4 เป็นตัวแปรแล้วกล่าวสรรเสริญ ไม่แสวงหาด้วยเหตุอันไม่ควร ไม่ยกตนข่มท่าน เพราะเหตุความสันโดษนั้น ในธัมปทสูตรว่าด้วยธรรม 4 ข้อที่ทำให้เป็นอริยวงศ์ คือ ความไม่เพ่งเล็ง ไม่พยาบาท มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ ซึ่งก็มาจากข้อภาวนานั่นเองเป็นเรื่องของทางใจ และในปริพพาชกสูตรเมื่อมีคุณสมบัติความเป็นอริยวงศ์นั้นจะไม่มีใครคัดค้านได้ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้าง จบอุรุเวลวรรค


อ่าน “กุหสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “สันตุฏฐิสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “อริยวังสสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “ธัมมปทสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “ปริพพาชกสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต


Timeline
[05:10] กุหสูตร
[18:06] สันตุฏฐิสูตร
[39:20] อริยวังสสูตร
[47:23] ธัมมปทสูตร
[50:23] ปริพพาชกสูตร