จตุกกนิบาตเริ่มอุรุเวลวรรคข้อที่ 21 – 25 ในปฐมอุรุเวลสูตรเป็นการรำพึงของพระพุทธเจ้าหลังตรัสรู้ว่า ควรเคารพยำเกรงในสมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดหรือไม่ เพราะผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงสิ่งใดย่อมเป็นทุกข์  เมื่อใคร่ครวญแล้ว ไม่พบว่าสมณะใดมีความบริบูรณ์เท่า จึงดำริที่จะเคารพในธรรมที่ตรัสรู้ และเคารพในสงฆ์ที่มีคุณอันใหญ่ด้วย ท้าวสหมบดีพรหมที่คนยกย่องว่าเป็นผู้สร้างก็ยังเคารพธรรมนั้น ในข้อนี้จะเห็นว่า การเอาเป็นที่เคารพนั้นมีความต่างกับการยึดติดยึดถือ เพราะถ้ายึดถือ ทุกข์จะอยู่ตรงนั้น ทำให้เสียหลักได้ ในทุติยอุรุเวลสูตรพระพุทธเจ้าตอบพราหมณ์ว่า อย่างไรจึงเรียกว่าเถระ เถระไม่ได้ดูจากอายุเท่านั้น ธรรมที่ทำให้ชื่อว่าเถระมาจาก การมีศีล เป็นพหูสูตร ได้ฌานทั้ง 4 และเป็นอรหันต์ ตรงนี้ทำให้พุทธองค์เห็นว่า ธรรมนี้ยากที่สัตว์โลกจะรู้ตาม จึงขวนขวายน้อย ท้าวสหมบดีพรหมจึงมากล่าวอาราธนาให้แสดงธรรม ในโลกสูตร 4 นัยยะแห่งการเรียกว่า “ตถาคต” คือ 1. รอบรู้เรื่องโลก ในนัยยะของอริยสัจ 4  2. คำสอนตั้งแต่ตรัสรู้จนปรินิพพานล้วนลงกัน 3. กล่าวอย่างไรทำอย่างนั้น ทำอย่างไรกล่าวอย่างนั้น 4. เป็นผู้ยิ่งใหญ่ไม่มีใครข่มเหงได้ในโลก ในกาฬการมสูตรความเป็นผู้คงที่ของพระพุทธเจ้านั้นปราณีตมาก ความไม่สำคัญไปใน 4 สถานะเท่ากับไม่สะดุ้งสะเทือนไปตามสิ่งที่รู้ คือ สักแต่ว่ารู้ จึงเหนือโลก และในพรหมจริยสูตรจะเห็นถึงคำสอนนี้เป็นไปเพื่อสำรวมระวัง เพื่อละ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับทุกข์ ไม่ใช่เพื่อลาภสักการะ หรือลวงคน สามารถยืนยันได้ว่า สิ่งนี้มีในเรา สิ่งนี้ไม่มีในเราได้ เป็นความมั่นใจ


อ่าน “ปฐมอุรุเวลสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “ทุติยอุรุเวลสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “โลกสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “กาฬการามสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “พรหมจริยสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต


Time index
[03:42] อุรุเวลวรรค
[06:05] ปฐมอุรุเวลสูตร
[20:17] ทุติยอุรุเวลสูตร
[33:10] โลกสูตร
[42:27] กาฬการมสูตร
[50:49] พรหมจริยสูตร