เริ่มจรวรรค ในจรสูตร กล่าวถึง การอยู่ในอิริยาบถเดินยืนนั่งนอนแล้ว พยายามละความคิดในทางกามทางพยาบาท และเบียดเบียนออก แม้จะยังละไม่ได้ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรไม่เกียจคร้าน เพราะฉะนั้นไม่ควรมีข้ออ้างในการทำความเพียร อยู่ในอิริยาบถใดที่ไหนก็สามารถทำได้ ในสีลสูตรว่าด้วยเรื่องของศีลสมบรูณ์ ตั้งแต่ศีล 5 จนถึงปาติโมกข์ ธรรมะทุกข้อมีศีลเป็นที่ตั้ง เมื่อศีลสมบรูณ์สิ่งที่ควรทำยิ่งขึ้น คือ การกำจัดนิวรณ์ เพื่อทำจิตให้เป็นสมาธิให้ได้ในทั้ง 4 อิริยาบท ดังนั้นในการงานก็เป็นวิหารธรรมให้จิตเป็นสมาธิได้ ไม่จำกัดอยู่ในรูปแบบเท่านั้น ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ ฝึกได้ ในปธานสูตร สัมมัปปธาน คือ ความกล้า ความเพียรที่ทำจริงแน่วแน่จริง แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ส่วนที่เป็นกุศล ถ้ายังไม่มีควรทำให้มี ที่มีอยู่แล้วให้ทำให้เจริญ และฝ่ายอกุศลที่มีอยู่เดิมให้ละ ที่ยังไม่มีอย่าให้เข้ามา และในสังวรสูตรแบ่งเหมือนในปธานสูตร สังวรปธาน คือ การสำรวมอินทรีย์ไม่ให้อกุศลใหม่เข้ามา ปหานปธาน คือ เพียรด้วยการละ ภาวนาปธาน คือ การพัฒนาโพชฌงค์ 7 และอนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษาสมาธินิมิตในการเห็นอสุภสัญญา เห็นอสุภแล้วยังรักษาสมาธิได้ นั่นคือรักษาได้ 


อ่าน “จรสูตร ว่าด้วยอิริยาบถเดิน” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “สีลสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มีศีล” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “ปธานสูตร ว่าด้วยสัมมัปปธาน” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อ่าน “สังวรสูตร ว่าด้วยสังวรปธาน” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต


Timeline
[05:15] จรวรรค : จรสูตร
[17:49] สีลสูตร
[36:05] ปธานสูตร
[47:11] สังวรสูตร