“งูตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในจอมปลวก มันเกรี้ยวกราดด้วยควันไฟกระทบนัยย์ตาของมัน เจ้างูจอมโกรธเลื้อยออกมาพลางคิดว่า ใครกันนะมาเผาไฟทำควันให้เกิดขึ้น ด้วยความโมโหอย่างสุดกำลัง ทันทีที่เห็นบุรุษผู้นั้นแล้ว เจ้างูจึงจมเขี้ยวอันมีพิษร้ายไปที่ขาของเขา บุรุษผู้นั้นล้มลง และเสียชีวิตทันทีด้วยพิษของงู” 

ผู้มีปัญญาย่อมพิจารณาถึงความโศกจากการพลัดพรากด้วยปัญญาว่า 

“ความรำพันเศร้าโศกถึงคนที่จากไปแล้วไม่มีประโยชน์ ยิ่งกว่าเด็กน้อยผู้ร้องไห้อยากได้พระจันทร์ที่ลอยเด่นอยู่กลางอากาศ เพราะถึงอย่างไร พระจันทร์ยังมีอยู่ ส่วนบุคคลที่จากไปแล้ว บัดนี้ไม่มีปรากฎอยู่” 

เพราะเหตุนี้ผู้มีปัญญาย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เสียไปแล้ว


อ่าน “อุรคชาดก เปรียบคนตายเหมือนงูลอกคราบ” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

อ่าน “อรรถกถา อุรคชาดก ว่าด้วยเปรียบคนตายเหมือนงูลอกคราบ”

อ่าน “ทสรถชาดก ว่าด้วยผู้มีปัญญาย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เสียไปแล้ว” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

อ่าน “อรรถกถา ทสรถชาดก ว่าด้วย ผู้มีปัญญาย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เสียไปแล้ว”


Timeline
[02:43] การที่จะตัดความเศร้าโศกออกไปจากจิตใจ
[05:49] อุรคชาดก ว่าด้วยเปรียบคนตายเหมือนงูลอกคราบ
[11:42] การเจริญมรณสติที่ถูกต้อง
[32:30] เปรียบเหมือนงูลอกคราบ
[45:37] ทสรถชาดก ว่าด้วยผู้มีปัญญาย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เสียไปแล้ว
[56:39] เปรียบเหมือนผลไม้สุก