“การครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้นยัง มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย ๕๐ ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมหาราช” 

ในอุโปสถสูตรกล่าวถึงการเข้าอยู่เพื่อรักษาศีลที่แตกต่างกัน 3 ประการ คือ โคปาลอุโบสถ (อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างคนเลี้ยงโค), นิคัณฐอุโบสถ (อุโบสถที่ปฏิบัติอย่างนิครนถ์) และอริยอุโบสถ (อุโบสถปฏิบัติอย่างอริยสาวก) ในประการหลังถือว่าประเสริฐที่สุด ทรงตรัสถึงการระลึก 5 อย่าง ที่เมื่อทำแล้วจะทำให้จิตใจผ่องแพ้ว และการเข้าอยู่ในอริยอุโบสถยังได้ชื่อว่า เป็นการเข้าใกล้พระอรหันต์แม้ในวันหนึ่งคืนหนึ่งก็มีค่ามาก ในฉันนสูตรเป็นการตอบคำถามของพระอานนท์ เกี่ยวกับการกำหนดความของราคะโทสะโมหะ การเห็นโทษ จบลงที่ปฏิปทาเพื่อกำจัดออก ในอาชีวกสูตรจะเห็นความฉลาดของท่านพระอานนท์ในการตอบปัญหา โดยถามให้คนถามตอบเอง ในที่นี้เกี่ยวกับการกำจัดราคะโทสะโมหะเมื่อกำจัดแล้วดีหรือไม่อย่างไร 


อ่าน “พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐-๗ หน้า ๒๗๕ – ๓๒๐”

ฟัง อริยอุโบสถ


Timeline
[05:50] อุโปสถสูตร ว่าด้วยอุโบสถ
[36:31] เริ่มอานันทวรรค หมวดว่าด้วยพระอานนท์ : ฉันนสูตร ว่าด้วยฉันนปริพาชก
[44:28] ‘อาชีวกสูตร’ ว่าด้วยสาวกของอาชีวก