พรหมวิหารสี่ คือ ธรรมะที่คุ้มครองโลกซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องของกาม เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย เกี่ยวข้องด้วยวัตถุกามหรือปัจจัยสี่ ทำให้เกิดความกำหนัด ยินดี พอใจ มากบ้างน้อยบ้าง เปรียบเสมือนอยู่ในป่ารกชัฏที่ต้องระแวดระวังอยู่ตลอดเวลา และต้องใช้สัญชาตญาณของสัตว์ป่าในการเอาตัวรอดจากป่าของกามนี้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เราตกอยู่ในเกมส์ของมาร 

หากเราต้องการหลุดพ้นจากป่ากามคุณนี้ ควรจะฝึกจิตให้มองเห็นสิ่งที่เป็นปฏิกูลให้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นปฏิกูลได้ หรือให้สามารถมองเห็นสิ่งที่ไม่เป็นปฏิกูลให้เป็นสิ่งที่เป็นปฏิกูลได้เช่นกัน ด้วยการปฏิบัติตนเพื่อถึงซึ่งกุศลธรรมเพิ่มขึ้น แต่อกุศลธรรมลดลงโดยที่ไม่เลือกเวลาและสถานที่ ทางออกนั้นก็คือ การเจริญซึ่งอัปปมัญญาสี่เป็นการเจริญพรหมวิหารสี่ที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้นเพื่อนำไปสู่การหลุดพ้น โดยการเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาที่ประกอบด้วยโพชฌงค์เจ็ดหรือองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม พร้อมทั้งอาศัยวิเวก อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ และน้อมไปเพื่อการปล่อยวาง


อ่าน “เมตตสูตร พรหมวิหาร 4” พระไตรปิฎกเล่มที่ 19  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 11 [ฉบับมหาจุฬา] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

อ่าน “อัปปมัญญา” ธรรมานุกรม มูลนิธิอุทยานธรรม

ฟัง “พรหมวิหาร 4 ประกอบพร้อมโพชฌงค์ 7” ออกอากาศในรายการธรรมะรับอรุณทาง FM92.5


Timeline
[01:13] เริ่มปฏิบัติด้วยการทำสมาธิและเจริญสติ
[03:37] เจริญเมตตาภาวนา ด้วยการตั้งจิตอันเป็นไปด้วยพรหมวิหารสี่
[17:49] พรหมวิหารสี่ ธรรมะที่คุ้มครองโลก
[21:47] อัปปมัญญาธรรม พรหมวิหารสี่ที่นำไปสู่การหลุดพ้น
[22:29] เริ่มจากการเจริญเมตตา ที่ประกอบด้วยโพชฌงค์เจ็ด
[30:55] ฝึกซ้อมในจิต ทั้งสิ่งที่เป็นปฏิกูลและสิ่งที่ไม่เป็นปฏิกูล
[34:30] เกิด “สุภวิโมกข์”เป็นความหลุดพ้นที่จิตมีสุขอยู่ในภายใน
[35:17] การเจริญกรุณา ที่ประกอบด้วยโพชฌงค์เจ็ด
[43:49] การเจริญมุทิตา ที่ประกอบด้วยโพชฌงค์เจ็ด
[48:44] การเจริญอุเบกขา ที่ประกอบด้วยโพชฌงค์เจ็ด
[54:48] รักษาจิตให้มีพรหมวิหารสี่ที่เป็นอัปปมัญญาในทุกชีวิต ทุกเวลา และทุกสถานที่