การเล่าเรียนธรรมะหรือปริยัติถือเป็นการรักษาพระธรรมได้ทางหนึ่ง ซึ่งเราสามารถทำให้ธรรมะนั้นลึกซึ้งเข้าสู่จิตใจให้มีสมาธิ มีความสงบ มีความสุขที่เกิดจากในภายในด้วยการปฏิบัติหรือสิกขา และจะทำให้ได้รับผลที่เกิดจากการปฏิบัติที่เป็นไปตามลำดับขั้น เป็นผลจากการปฏิบัติขั้นที่ต่ำกว่าเป็นเหตุให้เกิดการปฏิบัติของขั้นที่สูงกว่ายิ่งๆขึ้นไปหรือปฏิเวธในที่สุด 

สวากขาตธรรมเป็นธรรมะอันผู้มีพระพุทธเจ้าประกาศไว้ดีแล้ว ซึ่งเป็นธรรมะทั้งหลายที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นไปเพื่อความสุขและกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะเกิดจากการสอดส่องใคร่ครวญเนื้อความด้วยปัญญา ไม่หละหลวมในการพิจารณาธรรม ดำเนินชีวิตตามหลักของอริยมรรคมีองค์แปด ทนต่อการเพ่งพิสูจน์ด้วยการรับผลอานิสงค์ที่ควรจะได้เป็นอย่างดี ถือเป็นการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ตั้งไว้ด้วยดีโดยสามารถวัดผลได้จากราคะ โทสะ โมหะที่กลุ้มรุมจิตใจนั้นเบาบางลง ลดลง จนกระทั่งไม่เหลืออยู่เลย


อ่าน “อลคัททูปมสูตร” พระไตรปิฎก เล่มที่ 12 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 4 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

อ่าน “สัทธรรมปฏิรูปกสูตร” พระไตรปิฎก เล่มที่ 16 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 8 สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

อ่าน “จันทูปมสูตร” พระไตรปิฎก เล่มที่ 16 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 8 สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ฟัง “การรักษาศาสนา” ออกอากาศในรายการธรรมะรับอรุณทาง FM92.5

ฟัง “ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม” ออกอากาศในรายการธรรมะรับอรุณทาง FM92.5

ฟัง “กิจที่ควรทำในอริยสัจ” ออกอากาศในรายการธรรมะรับอรุณทาง FM92.5

ฟัง “สากัจฉาธรรม-งูพิษกับอินทรีย์” ออกอากาศในรายการธรรมะรับอรุณทาง FM92.5


Timeline
[00:36] เริ่มปฏิบัติด้วยการตั้งสติ
[01:59] เข้าใจทำด้วยการเจริญธรรมานุสสติ
[05:57] ว่าด้วย “ปริยัติที่เป็นงูพิษ”
[09:52] ว่าด้วย “ปริยัติที่ไม่เป็นงูพิษ”
[15:38] ปริยัติ ยังไม่สู้ สิกขา
[19:12] ว่าด้วย “สัทธรรมปฏิรูปกสูตร”
[28:44] หากไม่ได้รับประโยชน์จากสัทธรรมที่แท้จริง ก็จะเป็นช่องโหว่ให้เกิดสัทธรรมปฏิรูป
[46:47] มรรคแปดเป็นสัทธรรมปฏิรูปโดยพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นแนวทางสู่พระนิพพาน
[51:19] ว่าด้วย “จันทูปมสูตร”