…ให้เรามี “ศรัทธา” ในระดับที่ไม่ต้องเชื่อตามคำสอนนั้นแล้ว… 

จิตใจเมื่อมีศรัทธาก็จะเกิดความเพียร คือ ความกล้าที่จะทำจริงแน่วแน่จริง ศีลก็จะค่อยๆ สมบูรณ์บริบูรณ์ขึ้นมาได้ สิ่งที่จะตามมา คือ ความไม่ร้อนใจความสบายใจ สมาธิจะเกิดขึ้นพอประมาณ คลายความเคลือบแคลงเห็นแย้งลงได้ ถ้าเรายังต้องอาศัยผู้อื่นให้เกิดความเชื่อ คือศรัทธาในมรรคแปด คือ เรายังมีวิจิกิจฉาอยู่ แต่ถ้าด้วยศีลเต็ม มีสมาธิพอประมาณ มีปัญญาพอประมาณ เราจะงัดเจ้าวิจิกิจฉา คือความเคลือบแคลงสงสัยออกไปได้ เราจะเกิดความมั่นใจในลักษณะที่ไม่ต้องเชื่อตามผู้อื่นได้ 

ศรัทธาที่ไม่งมงาย ไม่ต้องอาศัยอ้างกันตามปิฎก ไม่ต้องอาศัยคำเล่าลือทำตามๆ กันมา หรือฟังดูน่าเชื่อถือ แต่เป็นศรัทธาที่มีตนเป็นเครื่องยืนยันเป็น “สันทิฏฐิโก” โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นหรือสิ่งใด แต่อาศัยการปฏิบัติ อาศัยตัวเราเอง 


อ่าน เกสปุตตสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

ฟัง “คำพุทธ-จูฬสัจจกสูตร” ออกอากาศทาง FM92.5 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


Timeline
[00:45] เริ่มต้นภาวนาด้วยอานาปานสติ
[15:02] ใต้ร่มโพธิบท : ไม่ต้องเชื่อตามผู้อื่นในคำสอนของศาสดาตน
[22:47] ยังต้องเชื่อตามผู้อื่นอยู่
[31:02] วิจิกิจฉา
[37:09] กำจัดสักกายทิฏฐิ
[39:13] ละสีลัพพตปรามาส
[52:17] โสดาบันคือ ไม่ต้องเชื่อตามผู้อื่นในคำสอนของศาสดาตน
[56:12] ศรัทธาที่มีตนเป็นเครื่องยืนยัน
[58:01] สรุป : ศรัทธาที่ไม่งมงาย ไม่ต้องอาศัยอ้างกันตามปิฎก ไม่ต้องอาศัยเล่าลือทำตามๆ กันมา ฟังดูน่าเชื่อถือ แต่มีตนเป็นเครื่องยืนยันเป็น “สันทิฏฐิโก” โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นหรือสิ่งใด แต่อาศัยการปฏิบัติ อาศัยตัวเราเอง